22 กันยายน 2553

ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ

นางสาว นันทยา เกตุคง รหัส 5021408219

ที่อยู่ 101/6 ถ.ประชาธิปก เขต.ธนบุรี แขวง.หิรัญรูจี กรุงเทพมหานคร 10600

เกิดวันที่ 15 มกราคม 2532

ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปี 4 คณะบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ



นาย จักรกฤษ มาลัยเพิ่ม รหัส 5021408221

ที่อยู่ 121/202 ตำบล.ท่าทราย อำเภอ.เมือง จังหวัด.สมุทรสาคร 74000

เกิดวันที่ 24 กันยายน 2525

ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปี 4 คณะบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ


นาย จักรพันธุ์ โมบัณฑิตย์ รหัส 5021408344

ที่อยู่ 489 ตำบล. ตลาด อำเภอ. กระทุ่มแบน จังหวัด.สมุทรสาคร 74110

เกิดวันที่ 6 เมษายน 2532

ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปี 4 คณะบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

10 กันยายน 2553

ประโยชน์ของกระเพรา




คนไทยรู้จักกะเพรามานานแล้ว เป็นผักอย่างหนึ่งต้นเล็ก ๆ ใบมีกลิ่นหอม ใช้แกงกินบ้าง ทำยาบ้าง นั่นคือกะเพราในวัฒนธรรมไทย ซึ่งปัจจุบัน ฐานะของกะเพราก็ไม่แตกต่างไปจากเดิม คือเป็นพืชซึ่งใช้เป็นอาหารและยาได้เช่นเดียวกับผักพื้นบ้านอีกหลายชนิด แต่เนื่องจากกะเพรามีกลิ่นหอมฉุนและรสเผ็ดร้อน ชาวไทยจึงไม่นิยมกินกะเพราโดยตรงเหมือนผักชนิดอื่น ๆ แต่นิยมนำไปเป็นเครื่องปรุงรสชาติและกลิ่นในการประกอบอาหารต่างๆ ตัวอย่างเช่นคนไทยส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงกะเพรา ก็มักจะนึกถึงเมนูหรือรายการอาหารยอดนิยมจากกะเพรานั่นคือ “ผัดกะเพรา (หมู ไก่ เนื้อ )” ร่วมอยู่ในรายการยอดนิยมอย่างหนึ่งเป็นแน่ คงจะจำกลิ่นผัดกะเพราที่ทั้งฉุนตลบอบอวลไปทั่วทั้งร้านและบริเวณใกล้เคียง จนทำให้เกิดเสียงไอจามดังได้เป็นแน่

กะเพรามีกลิ่นและรสชาติที่รุนแรงเฉพาะตัว จึงมักนิยมใช้ดับกลิ่นคาวในตำราอาหารไทยเช่น ผัดกบ ผัดปลาไหล ผัดหมู ฯลฯ พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นพวกแกงต่างๆ เช่น แกงเลียงใบกะเพรา สำหรับมารดากินหลังคลอดใหม่ๆ เพื่อขับลมบำรุงธาตุให้ปกติเป็นยาขับน้ำนม นอกจากนี้ยังมีแกงป่า แกงเขียวหวาน แกงคั่ว แกงส้มมะเขือขื่น แม้แต่ต้มยำต่างๆ ใส่ใบกะเพราผัดเผ็ดต่างๆทอดใบกะเพราให้กรอบแล้วนำมาโรยหน้าอาหาร ใส่อาหารได้สารพัดนอกจากที่กล่าวมา

กะเพราจัดเป็นพืชสมุนไพรได้อย่างเต็มตัวชนิดหนึ่ง เพราะมีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตำราไทยและต่างประเทศ ก็ระบุความเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ของกะเพราเอาไว้หลายด้านเช่น ตำราสมุนไพรไทย บรรยายสรรพคุณด้านยาของสมุนไพรเอาไว้ว่า รสฉุน ร้อน ขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น ปวดท้องบำรุงธาตุ แก้จุดเสียดในท้อง ช่วยย่อยอาหาร

ในตำราสมุนไพรไทย ได้จัดแบ่งสมุนไพรออกเป็นจำพวกต่างๆ รวมทั้งพิกัดอีกมากมาย ในจุลพิกัดซึ่งมีสมุนไพรกลุ่มละ 2 ชนิดนั้น ระบุถึงกลุ่มที่เรียกว่า ”กะเพราทั้ง 2 ” หมายถึง ส่วนราก ต้นใบ ดอก และ ผลของกะเพรา ซึ่งใช้ด้วยกันทั้งหมดในตำรานั้น ในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณซึ่งมีอยู่ 6 ตำรับนั้น มีอยู่ตำรับหนึ่งชื่อว่า”ยาประสะกะเพรา” หมายถึง มีกะเพราเป็นสรรพคุณหลักของกะเพรานั่นเอง

นอกจากนี้กะเพรายังเป็นส่วนประกอบของยาอีกมากมาย เช่น ยารักษาตานขโมยสำหรับเด็ก ยาแก้ทรางเด็ก และยากินให้มีน้ำนมสำหรับมารดาเป็นต้น ในต่างประเทศมีการใช้กะเพราเป็นยารักษาโรคอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าประเทศไทย เสียอีก โดยเฉพาะในอินเดียถือว่ากะเพราใช้รักษาโรคได้ทุกโรคเลยทีเดียวกะเพราเป็นพืช ที่ปลูกง่ายมากชนิดหนึ่งเพื่อแต่โรยเมล็ดลงบนพื้นดินแล้วรดน้ำพอชุ่มชื้น กะเพราก็จะงอกงามได้ดี

ประโยชน์ของเห็ด

ประโยชน์ของเห็ด




เห็ด เป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ และไม่มีคอเลสเตอรอล มีแร่ธาตุที่เป็น ประโยชน์อย่างโปแตสเซียมซึ่งช่วยลดความดันโลหิต และซีลีเนียมซึ่งเป็นตัวสาร ต้านมะเร็ง รวมทั้งยังมีวิตามินต่างๆ และกรดอะมิโนต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ ในปริมาณพอสมควร

การกิน "เห็ดสามอย่าง" ก็จะยิ่งได้ประโยชน์ ยิ่งกว่ากินเห็ดเพียงอย่างเดียว เหมือนกับส่วนผสมของดินปืน ที่เมื่อแยกส่วน ออกมาแต่ละตัวแทบจุดไม่ติดไฟ แต่พอนำมารวมกันก็กลายเป็นระเบิด

ใน หนังสือ "นาฬิกาชีวิต" ของ อ.สุทธิวัสส์ คำภา บอกว่า เห็ดสามอย่างเมื่อรวม กันนั้นจะมีค่ากรดอะมิโนที่สามารถลดอัตราการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ทั้ง ยังช่วยล้างพิษที่สะสมในตับ ทั้งจากอาหารและสารเคมี เช่น พิษจากสุรา สารตก ค้างในเนื้อสัตว์ สารเคมีจากเครื่องสำอาง และพิษจากสารอนุมูลอิสระ นอกจาก นั้นยังล้างไขมันในตับ ทำให้ตับเเข็งแรง สร้างเม็ดเลือดแดงได้ดี

การ กินเห็ดสามอย่างที่ว่านี้ ก็คือเห็ดอะไรก็ตามที่กินได้ ไม่ว่าจะเป็นเห็ด ฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดเข็มทอง ฯลฯ และจะนำมาทำแกงเลียง แกงส้ม ต้ม ยำ ย่าง หรือทำอาหารประเภทใดก็ได้ โดยที่ไม่ต้องใช้น้ำมัน นอกจากนั้นยังต้ม เป็นน้ำซุปเห็ดดื่มก็ได้ด้วยโดยการนำเห็ดอะไรก็ได้ 3 อย่าง มาล้าง หั่นและ นำไปต้มรวมกันในน้ำสะอาด ใส่มะตูมแว่นที่ปิ้งจนหอมมาต้มรวมกัน ดื่มแทนน้ำ ซุปได้ ส่วนเนื้อเห็ดนำไปทำอาหารอื่นๆ ได้อีกด้วย

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ




หลายคนคงเคยได้ลองลิ้มรสน้ำกระเจี๊ยบ น้ำสมุนไพรสีแดงสด รสชื่นใจกันมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่เคยทำความรู้จักกับ "กระเจี๊ยบ" กันอย่างจริงๆจังโดยกระเจี๊ยบนั้นเป็นพืชสมุนไพรไทยที่ปลูกกันทั่วไป แต่จะพบมากในภาคกลาง การบริโภคนั้นจะนำผลของมันมากิน
โดยมีให้เลือกกินกันได้สองแบบ คือ "กระเจี๊ยบแดง" และ "กระเจี๊ยบเขียว"

สำหรับผลกระเจี๊ยบแดงนั้นมีลักษณะค่อนข้างกลม มีกลีบเลี้ยงหนาสีแดง เรามักจะนำผลแห้งใช้มาต้มทำน้ำกระเจี๊ยบ รสเปรี้ยวของดอกกระเจี๊ยบทำให้ชุ่มคอ กัดเสมหะ แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ขับเมือกมันในลำไส้ บำรุงโลหิต ช่วยขับ
ปัส สวะ และยังสามารถลดไขมันในเลือด และสารสีแดงในผลกระเจี๊ยบนั้นก็ยังมีสาร anthocyanin ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติอีกด้วย

ส่วนผลกระเจี๊ยบเขียวนั้น จะมีลักษณะยาวรีเป็นสีเขียว นิยมนำมาลวกกินกับน้ำพริก เมื่อเคี้ยวฝักกระเจี๊ยบเขียวแล้วจะรู้สึกลื่นๆในปาก เพราะฝักกระเจี๊ยบเขียวจะมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ที่ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เหมาะกับคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร ทั้งยังช่วยรักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง ช่วยระบาย และสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย

ประโยชน์ของเตยหอม

ประโยชน์ของเตยหอม



“เตยหอม” สรรพคุณและวิธีใช้
ส่วนที่เป็นประโยชน์ของเตยหอม คือ ราก และใบ แต่ละส่วนของเตยหอมจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้

- ใบเตย ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ใบเตยต้มกับน้ำ ใช้รับประ ทานแก้หวัด แก้ไอ ดับพิษไข้ ดับร้อน และชูกำลัง มีคำแนะนำการทำ น้ำเตยหอม ดังนี้ ใช้ใบเตยหอมสด ๆ 200 กรัม น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วยตวง น้ำสะอาด 7 ถ้วยตวง เกลือป่น ? ช้อนชา หากไม่ชอบหวานก็ไม่ต้องใส่น้ำตาล ค่ะ

- ราก รากเตยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาเบาหวาน(เนื่องจากมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด) นอกจากนั้นยังใช้รักษาโรคตับ และไตอักเสบ

นอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้วยังนิยมใช้ใบเตยหอมแต่งสีให้เขียว เนื่องจากในใบเตยมีสารคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) และยังใช้แต่งกลิ่นให้หอมอีกด้วย เช่น แต่งกลิ่นในขนมหลายชนิด ได้แก่ ขนมขี้หนู ลอดช่องซ่าหริ่ม ขนมชั้น ฯลฯ เวลาจะใช้ใบเตยเพื่อให้สีเขียวต้องหลีกเลี่ยงความร้อนสูงนะคะ เพราะหากพบกับความร้อนสูง สีเขียวจากใบเตยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสีเขียวเป็นสีเหลือง

ประโยชน์ของดอกอัญชัน

ประโยชน์ของดอกอัญชัน




ลักษณะ
เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ต่าง ๆ
ใบเป็นใบประกอบออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 5-7ใบ ลักษณะกลมโตคล้ายพุทรา
เนื้อใบด้านบนเรียบ ปลายใบมน มีกระดูกใบเห็นได้ชัดเจนดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามข้อ
หรือซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ซึ่งมีชนิดดอกชั้นเดียว และดอก 2 ชั้น มีหลายสี ทั้งสีม่วง
สีน้ำเงิน และสีขาว ฝักมีขนาดเล็กค่อนข้างแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน

พบได้ตามทั่วไปตามที่รกร้าง และนิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อเป็นไม้ประดับ

สารที่พบ
ในดอกมีสารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดงและสีน้ำเงิน
มีคุณสมบัติเป็นอิดิเคเตอร์ (Indicator) เช่นเดียวกับ ลิสมัส (Litmus)

สรรพคุณ
รากมีรสเย็นจืดใช้เป็นยาขับปัสสาวะพิการเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงดวงตา แก้ตาอักเสบ ตาฟาง
ตาแฉะ โดยนิยมใช้รากต้นอัญชัน ชนิดดอกสีขาว นอกจากนี้ถ้านำรากมาถูฟันจะทำให้ฟันคงทน แข็งแรงและแก้อาการปวดฟันได้ดี เมล็ดใช้เป็นยาระบาย ซึ่งใช้ชนิดดอกสีนำเงินและดอกสีขาว ส่วนดอกสดนำมาทาศีรษะเพื่อใช้เป็นยาปลูกผม

ประโยชน์ของใบบัวบก

ประโยชน์ของใบบัวบก


ใครที่ชอบทานใบบัวบกกันบ้าง รู้หรือไม่ว่า ใบบัวบกนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง วันนี้เกร็ดความรู้มีเรื่องนี้มาฝากกัน...

ใบบัวบกมีคุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอสูงมาก ช่วยบำรุงสายตาและมีสารแคลเซี่ยมมากเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีวิตามินบี 1 สูงกว่าผักหลาย ๆ ชนิด เหมาะกับสุขภาพ

ใบบัวบกมีสรรพคุณทางยา ในการแก้ช้ำใน ทำให้หายฟกช้ำได้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดอาการปวดศรีษะข้างเดียว บำรุงสุขภาพสมอง แก้ความดันโลหิตสูง แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ และขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงสุขภาพได้ดี

นอกจากนี้ในการศึกษาทางเภสัชวิทยาเพื่อค้นหาสารสำคัญ หรือหาสารออกฤทธิ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในใบบัวบก พบว่า ใบบัวบกจะให้สารไกลโคไซด์ (Glycosides) หลายชนิดที่ให้ผลต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Antioxidation) ซึ่งส่งผลให้การลดความเสื่อมของเซลล์ อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ นอกจากนี้ยังพบว่าสารไกลโคไซด์ที่ได้จากใบบัวบกยังส่งผลในการช่วยดูแลสุขภาพ เร่งการสร้างสารคอลลาเจน (Collagen) ที่เป็นโครงสร้างของผิวจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้แผลสมานตัวได้ เร็ว

ผู้ที่ควรทานใบบัวบก ได้แก่

1. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม อาทิ ผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง
2. ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องใช้สมองอย่างมาก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำ
3. ผู้ที่มีความเครียดสูงจากการทำงานหนัก
4. ผู้ที่มีความผิดปกติทางผิวหนัง และกล้ามเนื้อโดยมีอาการฟกช้ำ และผิวหนังอักเสบ
5. ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เพราะช่วยเร่งการสมานแผลให้เร็วยิ่งขึ้น

รู้ถึงประโยชน์ของใบบัวบกแล้ว ก็อย่าลืมหันมาหาทานกันได้ เพื่อสุขภาพที่ดี.

04 กันยายน 2553

ประโยชน์ของขมิ้นชัน

ประโยชน์ของขมิ้นชัน

1. ตัดแง่งขมิ้นมาพอสมควร นำมาล้างให้สะอาด (ควรทำขั้นตอนนี้ทุกครั้งของการใช้สมุนไพร) แล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเจือน้ำสุกเท่าตัวนำมาดื่มครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 - 4 ครั้ง หรือเติมเกลือเล็กน้อย เพื่อใช้รักษาอาการท้องร่วง บิด
2. ใช้ผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ นำมันผสมกับน้ำมันมะพร้าว 2 - 3 ช้อนโต๊ะ เอามาเคี่ยวด้วยไฟอ่อน จนได้น้ำมันสีเหลือง แล้วนำมาใช้ใส่แผล หรือนำมาพอกบริเวณ ที่ปวดเมื่อย หรือเคล็ดได้

3. นำผงขมิ้นมาผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม ปั้นเป็นลูกกลอน ขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทาน 2 - 3 เม็ด หลังอาหาร และก่อนนอน เพื่อรักษา อาการโรคกระเพาะ ท้องขึ้น
4. นำขมิ้นแห้ง 25 กรัม + ว่านนางคำ 200 กรัม + ไพล 50 กรัม + ดินสอพอง 1000 กรัม นำมาบดผสมกัน ใช้พอกหน้า และตัวเพื่อบำรุงผิวได้ (ถ้าผิวมันใช้ผสมกับน้ำมะกรูดเผาไฟ ถ้าผิวแห้ง ใช้ผสมกับน้ำผึ้ง หรือ นมสด) ควรพอกประมาณ 5 - 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ตามด้วยน้ำเย็น สลับกัน
5. ใช้ผงขมิ้นละลายน้ำทาบ่อย ๆตรงบริเวณที่คัน หรือ คันจากยุงกัดมดกัด
6. ทำครีมสมุนไพร เพื่อใช้แทนสบู่ และลดรอยเหี่ยวย่นและจุดด่างดำ เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหน้า โดยนำมะขามเปียก 300 กรัมมาแช่น้ำและบีบน้ำแล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วเอาตั้งใส่หม้อเคลือบตั้งไฟอ่อน ๆ เคี่ยวให้แห้งจากนั้น เติมนมสด 200 กรัม + น้ำผึ้ง 50 กรัม + ขมิ้นผง 1/2 ช้อนชา + ว่านนางคำผง 1/2 ช้อนชา คนให้แห้ง ยกลง ก็โดยชะโลมน้ำที่หน้าพอเปียก ป้ายครีมเล็กน้อย ลูบไล้จนทั่วหน้า ทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
7. วิธีทำยาทาผิว ใช้เหง้าขมิ้นสดมาหั่นบาง ๆ แล้วตากแห้ง นำมาบดเป็นผงให้ละเอียด เวลาจะใช้ให้นำมาผสมกับน้ำคนให้เข้ากัน ทาตามเนื้อตัวหรือใบหน้า หรือผสมกับน้ำนมทาตัวเอาไว้ก่อนจะอาบน้ำทิ้งไว้ 10 - 20 นาที เป็นอย่างน้อย แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือตามด้วยการอาบน้ำชำระร่างกาย ผลที่ได้รับคือ ช่วยให้ผิวนุ่มนวลเนียน แก้โรคผดผื่นคัน หรือจุดด่างดำบนร่างกายให้หายไป
8. วิธีทำครีมขัดและพอกหน้า นำขมิ้นผงผสมกับน้ำนม หรือน้ำผึ้ง จากนั้นล้างหน้า ให้สะอาดแล้วนำขมิ้นที่เตรียมไว้ขัดใบหน้าเบา ๆ จนทั่วพอกไว้อย่างนั้นประมาณ 5 นาที ล้างออกได้ด้วยน้ำอุ่น ๆ ผลที่ได้รับคือ ช่วยให้สิ้วเสี้ยนหลุดสมานผิวและรูขุมขน ช่วยรักษาแผลที่เกิดจากสิวอักเสบ ไม่ให้เกิดเป็นแผลเป็น ทำให้ผิวหน้า นุ่มและเนียน

-นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีการศึกษาพิสูจน์สรรพคุณของขมิ้นตามการใช้แบบโบราณ ก็พบว่า มีสรรพคุณมากมายตามที่เคยใช้กันมา เช่น ขมิ้นชันมีสรรพคุณในการช่วย ทำให้แผล หายเร็วขึ้นมีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ต้าน เชื้อ แบคทีเรียทีทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกัน ไม่ให้เป็น นิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม และ ยังพบว่า ช่วยชะลอความแก่ เป็นสาร ต่อต้านมะเร็งและเนื้องอกต่าง ๆ พบว่าการกินอาหารผสมขมิ้น สามารถทำลายเชื้อไวรัสที่ผ่านมาทางอาหารได้ รวมทั้งสามารถ ป้องกันมะเร็งจากสารก่อมะเร็งต่าง ๆ และยังมีสรรพคุณในการต้านไวรัส โดยเฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ขมิ้นชันจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของผู้ป่วยโรคเอดส์