31 สิงหาคม 2553

ประโยชน์ของกระชาย

ประโยชน์ของกระชาย


-"กระชาย" เป็นสมุนไพรไทย มีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญที่เรานำมาบริโภคกันอยู่ในรากและเหง้ากระชาย ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียใน ลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก และเป็นยาอายุวัฒนะ และรากกระชายนี้ก็ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องแกง ขนมจีนน้ำยา เพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อและปลาเช่น ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า หลนปลาร้า ฯลฯ


-แต่ที่ฮือฮากันที่สุดก็เห็นจะเป็น "กระชายดำ" สมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องเพิ่มพลังทางเพศ หรือที่เรียกกันว่า "โสมไทย" เพราะมีสรรพคุณที่หลากหลาย ทั้งบำรุงกำลัง เพิ่มฮอร์โมนทำให้สมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาโรคความดันโลหิตสูงขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเกาต์ โรคกระเพาะอาหาร สตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมถึงการขับผิวพรรณให้เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล นิยมนำไปผสมเหล้าดื่มเป็นยาดอง หรือจะหั่นเป็นชิ้นๆ ตากแห้งแล้วต้มน้ำร้อนดื่มแทนน้ำหรือน้ำชาก็ได้เช่นกัน รู้อย่างนี้แล้ว คราวนี้ก็คงไม่ต้องพึงยาแผนปัจจุบัน ให้มากเกินไปซึ่งมีผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว

-ประเทศไทยเรามีสมุนไพรมากมาย ที่ช่วยบำรุงสุขภาพ ฉะนั้นหันกลับมาทานอาหารแบบไทยๆ ที่มากด้วยคุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายดีกว่า อาหารตามแบบต่างประเทศที่มีแต่จะทำให้ร่างกายอ้วน เป็นเหยื่อของโรคหลายๆชนิด เช่น ความดัน เบาหวาน และโรคอ้วน เป็นต้น

ประโยชน์ของพริกขี้หนู

ประโยชน์ของพริกขี้หนู



-พริกขี้หนูถือว่าเป็น "ราชินีของพริก" เพราะเหตุที่มีรสเผ็ดจัดจ้านสุด ๆ นั่นเองที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในตัวเขามีน้ำมันระเหยที่มีฤทธิ์เป็นด่างอย่างหนึ่ง ในชื่อว่าแคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งจะสะสมตัวมากอยู่ที่บริเวณเมล็ดและรกของพริก (ทุกชนิด) แถมยังมีคุณสมบัติพิเศษสุดยอดตรงที่สามารถทนความร้อนได้ดีแม้ว่าจะผ่านกระบวนการทำให้สุกหรือตากแดดร้อน ๆ จนแห้งแล้วก็ตาม แต่ความดุเด็ดเผ็ดร้อนของรสชาติยังคงไว้เช่นเดิม

-นอกจากนี้ความเผ็ดร้อนยังไม่สลายตัวง่าย ๆ ในน้ำอีกต่างหาก เวลาจับหรือหั่นพริก บางคนจะมีอาการแสบร้อนตามมือ ล้างมือ - ล้างสบู่ยังไงก็ไม่หายง่าย ๆ

-ฤทธิ์เดชของเจ้าแคปไซซินที่มีการทดลองแล้วพบว่าเพียง 1 หยด (เท่านั้น) ที่ผสมลงในน้ำถึง 100,000 หยด ก็ยังรับรู้ถึงรสเผ็ดเข้าไปเต็ม ๆ ลิ้น ขนาดเพิ่มปริมาณเข้าไปอีก 10 เท่า เป็น 1 ล้านหยด เราก็ยังรับรู้ถึงรสเผ็ดของแคปไซซินในเจ้าพริกขี้หนูตัวนี้ได้อยู่ดี

-และใช่ว่าจะมีความเผ็ดให้น้ำหูน้ำตาได้ไหลเพียงอย่างเดียวนะจะบอกให้เพราะพริกขี้หนูเม็ดเล็ก ๆ แบบนี้ยังอัดแน่นไปด้วยสารอาหารตัวจำเป็น ชนิดที่พืชผักอื่น ๆ เขามีกันครบเซ็ตแบบไม่ขาดตกบกพร่อง ที่คุณอาจไม่เชื่อก็คือ ปริมาณของแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีนั่นมีสูงมากกว่าผักทั่วไปหลายสิบชนิดทีเดียว แถมยังให้ไฟเบอร์หรือกากใยอาหารสูง พร้อมกับเบต้าแคโรทีนตัวเก่งในปริมาณสูงถึง 140.77 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัมด้วย

ประโยชน์ของกระเทียม

ประโยชน์ของกระเทียม



-ข้อมูลจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ระบุว่า กระเทียม (garlic) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum Linn. แทบทุกครัวเรือนรู้วิธีการเจียวกระเทียมในน้ำมันให้หอมก่อน แล้วจึงใส่เนื้อสัตว์หรือผัก เป็นวิธีดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และเพิ่มรสชาติให้กับอาหารประเภทผัดชนิดต่างๆ ได้อย่างดี ทั้งยังใช้กระเทียมเจียวโรยหน้าอาหารอีกหลายอย่าง หรือใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในเครื่องแกงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเป็นตัวช่วยแต่งกลิ่นและรสร่วมกับมะนาวในน้ำพริกกะปิ แม้แต่พริกน้ำปลาหรือน้ำจิ้มรสแซบก็จะลืมกระเทียมไปไม่ได้ นอกจากนี้ใบและหัวกระเทียมสดๆ ยังเป็นผัก รวมถึงกระเทียมดองของอร่อย
-กระเทียมยังเป็นสมุนไพรแก้ไขบรรเทาปัญหาสุขภาพของชาวบ้านมาโดยตลอด หมอพื้นบ้านไทยใช้กระเทียมสดรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โรคบิด ป่วง แก้ไอ และกระจายโลหิต กระทั่งเป็นที่สรุปได้ว่า กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่น 2 ประการ คือ ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง และรับประทานแก้โรคความดันโลหิตสูง
-การศึกษาทดลองคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาในระยะหลัง พบว่า กระเทียมมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกหลายอย่าง แต่การนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้ผลอย่างจริงจังยังจะต้องมีการศึกษาผลทางคลินิกวิทยาให้ถ่องแท้เสียก่อน โดยสรรพคุณต่างๆ ของกระเทียมมีดังนี้
1.ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม
2.ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
3.ลดความดันโลหิตสูง
4.ลดไขมันและคอเลสเตอรอล
5.ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
6.ลดน้ำตาลในเลือด
7.ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดมีตัวที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
8.ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม
9.รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
10.เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ
11.รักษาโรคไอกรน
12.แก้หืดและโรคหลอดลม
13.แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย
14.ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย
15.ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงานทดสอบจากอินเดียว่า กระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี
16.แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น
17.แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย
18.ต่อต้านเนื้องอก
19.กำจัดพิษตะกั่ว
20.บำรุงร่างกาย

-ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย และยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า

ประโยชน์ของตำลึง

ประโยชน์ของตำลึง



-ตำลึง ซึ่งมีลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย มีมือจับเกาะยึดต้นไม้อื่นๆ มีดอกสีขาว มีผลเป็นรูปยาวรีคล้ายแตงกวา มีใบเป็นรูปทรงคล้ายหัวใจ เวลาเอาใบและยอดอ่อนๆ มาแกงจืดกับหมูสับแล้วละก็... อร่อยอย่าบอกใคร
-ไม่ใช่แค่อร่อยอย่างเดียว แต่ตำลึงยังมีประโยชน์อีกมาก มีทั้งสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกและฟัน มีฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไนอาซิน และวิตามินซี ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า หากใครกินตำลึงบ่อยๆ เส้นใยอาหารในตำลึงก็สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและได้อีกด้วย
-นอกจากนั้นตามตำราแพทย์แผนโบราณ ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษ และถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน โดยใช้ใบตำลึงสดๆ ประมาณ 1 กำมือมาล้างให้สะอาด แล้วตำให้ละเอียด ผสมน้ำเล็กน้อย นำมาทาบริเวณที่มีอาการคันก็จะหายได้
-ตำลึงเป็นผักที่พบได้ง่าย แถมปลูกก็ยังง่าย เพียงแค่เอาเมล็ดจากผลที่สุกจัดๆ มาเพาะ หรือเอาเถาแก่ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว มาปักลงในดินผสมปุ๋ย หมั่นรดน้ำบ่อยๆ และหาไม้มาทำหลักให้ตำลึงเลื้อยเมื่อเถาเริ่มงอก ปลูกเอาเองไม่ต้องซื้อของใคร แค่นี้ก็ได้ต้นตำลึงเอาไว้กินแกงจืดกันได้ทุกมื้อ และถ้ายิ่งเด็ด ยอดตำลึงก็จะยิ่งขึ้นงาม เพราะฉะนั้นจะลองเปลี่ยนเมนูเป็นแกงเลียง ต้มเลือดหมู หรือจะนึ่งจิ้มน้ำพริกก็กินกันได้ไม่มีเบื่อ

30 สิงหาคม 2553

ประโยชน์ของโสม

ประโยชน์ของโสม



โสม จัดเป็นราชาแห่งสมุนไพรทั้งปวง หรือ King of Herbs เป็นสมุนไพรจีนที่สำคัญซึ่งใช้รักษาโรคมากกว่า 2,000 ปี ทำไมคนเราถึงนำโสมมาใช้กันอย่างแพร่หลายเรามาลองดูสรรพคุณของโสมกันเลยค่ะ

  • โสมเกาหลีมีฤทธิ์อุ่น มีสรรพคุณเพิ่มเลือด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • โสมจีนและโสมอเมริกามีฤทธิ์เย็น ช่วยบำรุงปอด ไต หัวใจ ระบบย่อยอาหาร แก้ร้อนใน แก้พิษสุรา
  • โสมมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและการได้ยิน นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณช่วยลดความเครียด กระตุ้นระบบประสาท
  • สารต้านอนุมูลอิสระในโสมช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ
  • กระตุ้นการไหลเวียนเลือด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญอาหารได้ดีขึ้น
  • สารไบโอแอกทีฟ (bioactive) ในโสมช่วยรักษาเบาหวาน มะเร็ง ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ความดันโลหิตสูง โรคในสตรี โรคนอนไม่หลับ และรักษาโรคความจำเสื่อม
  • ช่วยให้ม้ามทำงานได้เป็นปกติ ช่วยเจริญอาหาร แก้มือเท้าเย็น บำรุงกระเพาะ รักษาอาการเหงื่อออกมาก คลื่นไส้ ไอ อาเจียนเป็นเลือด และช่วยให้ชีพจรเต้นเป็นปกติ

ประโยชน์ของโหระพา

ประโยชน์ของโหระพา



- ใบสด : แก้ท้องอืด เฟ้อ ขับลมจากลำไส้ ต้มดื่มแก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร - ตำพอกหรือประคบแก้ไขข้ออักเสบ แผลอักเสบ

- ยอดอ่อนตำปิดแผลงูกัด

- ต้มกับน้ำนมราชสีห์ รับประทานเรียกน้ำนม

- ตำกับแมงดาตัวผู้ รับประทานและพอกแก้พิษคางคก

- ใช้ใบและต้นสดประมาณ 6-10 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้หวัด ขับเหงื่อ

- นำใบแห้งเก็บไว้ ต้มน้ำให้เดือด แล้วต้มใบแห้ง 10-20 นาที ดื่มวันละ 3 ถ้วยต่อวัน มีสรรพคุณต้านเชื้อก่อโรคด้วย

- เด็กปวดท้องใช้ใบโหระพา 20 ใบ ชงน้ำร้อนและนำมาชงนมให้เด็กดื่ม ปลอดภัยกว่ายาขับลมที่ผสมแอลกอฮอลล์ ไม่ควรใช้กับเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ หรือผู้ใหญ่อายุมากว่า 65 ปี

- ใบโหระพาเป็นแหล่งเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคร้าย เช่น โรคหัวใจขาดเลือดและมะเร็ง โหระพา 1 ขีด มีเบต้าแคโรทีนสูง คือ 452.16 ไมโครกรัม ร่างกายผู้ใหญ่ต้องการเบต้าแคโรทีน 800 ไมโครกรัม เราไม่กินใบโหระพามากมายนัก แต่เบต้าแคโรทีน มีอยู่ในผักใบเขียวเข้มทุกชนิด การกินผักให้มากที่สุดโดยกินโหระพาไปด้วยจะทำให้เราได้เบต้าแคโรทีน เพียงพอ

- ใบโหระพามีกลิ่นเฉพาะใช้เป็นผักสด ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารและมีธาตุแคลเซียมสูงด้วย

ใบโหระพามีน้ำมันหอมระเหย ร้อยละ 1.5 องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญ คือ (Methylcha vicol) และสกัดได้จากใบโหระพาพันธุ์ไทย โดยการกลั่นด้วยไอน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลวใสสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองอมน้ำตาลปราศจากตะกอนและสารแขวนลอย ไม่มีการแยกชั้นของน้ำ มีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติแก้จุกเสียดแน่นท้อง น้ำมันหอมระเหยช่วยการย่อยอาหารเนื้อสัตว์ ช่วยคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงช่วยให้สบายท้องขึ้น น้ำมันโหระพา มีกลิ่นหอมหวาน มีคุณสมบัติช่วยให้สงบ มีสมาธิ ลดอาการซึมเศร้า มีข้อควรระวังในการใช้ในสปา คือ ทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง

ประโยชน์ของมะกรูด

ประโยชน์ของมะกรูด



มะกรูด เป็นพืชที่อยู่คู่ครัวไทยมานานและจัดได้ว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มากมายมหศาล เลยก็ว่าได้ เมื่อเอ่ยชื่อ มะกรูด แทบไม่มีใครเลยที่จะไม่รู้จัก เป็นที่ทราบกันมาแต่โบร่ำโบราณแล้วว่ามะกรูดไม่เพียงแต่ทำให้ผมดำเงางามเท่านั้น แต่มะกรูดยังกำจัดรังแค แก้คันศรีษะ แก้ผมแตกปลาย ป้องกันผมร่วง และหงอกช้าอีกด้วย กรรมวิธีในการนำมะกรูดมาสระผมนั้นก็มีด้วยกันหลายวิธี แต่ที่นิยมมากเห็นจะเป็นการนำลูกมะกรูดไปเผาไฟแล้วนำน้ำมายีที่ศรีษะแล้ว ล้างออก แต่ด้วยวิวัฒนการที่ทันสมัยมากขึ้นในปัจจุบัน จึงเห็นมะกรูดเป็นส่วนประกอบในแชมพูสระผม ครีมนวด หลายยี่ห้อ

นอกจากนี้แล้วมะกรูดยังได้อยู่คู่ครัวไทยมานานแสนนาน ดังจะเห็นได้จากอาหารขึ้นชื่อหลายชนิด

เลยทีเดียวที่มีส่วนผสมของมะกรูด ที่มองไม่เห็นว่าใช้มะกรูดเป็นส่วนผสมก็ได้แก่ พริกแกงต่างๆ ของไทยที่ใช้ผิวจากลูกมะกรูดเป็นส่วนผสม น้ำมะกรูดใช้ปรุงรสเปรี้ยวในแกงเทโพ แกงส้ม เพราะมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวอมหวานกลมกล่อม อาหารบางอย่างที่เห็นชัดเจนว่ามีมะกรูดเป็นส่วนผสม ได้แก่ ต้มยำ ต้มข่า ต้มแซบ หรือซอยโรยหน้าห่อหมก ฉู่ฉี่ พะแนง และใส่เป็นส่วนผสมทอดมัน เป็นต้น

มะกรูดมีการใช้ประโยชน์อย่างมาก เป็นได้ทั้งเครื่องเทศและยาสมุนไพร และเนื่องจาก ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก จึงถูกนำไปสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย บางครั้งกลิ่นฉุนของ มะกรูดยังสามารถไล่แมลงบางชนิดได้เป็นอย่างดี

สรรพคุณทางยาของมะกรูดนั้นได้แก่ ผลสด ผิวมะกรูด หอมร้อน แก้ลมหน้ามืด บำรุงหัวใจ ขับระดู ขับลม ส่วนผลที่มีรสเปรี้ยว ก็ใช้ขับเสมหะ ฟอกเลือด สระผมขจัดรังแค รากใช้แก้พิษฝีภายใน ใบ แก้ช้ำใน ดับกลิ่นคาว เป็นต้น

ทางด้านความเชื่อ มะกรูดเป็นไม้มงคลที่ควรปลูกไว้ในบ้านโดยปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เชื่อกันว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัย มีความสุข

28 สิงหาคม 2553

ประโยชน์ของตะไคร้

ประโยชน์ของตะไคร้

ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ

หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัย

เส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย

ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย

ประโยชน์ของขิง

ประโยชน์ของขิง


ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและจะมีใยอาหารมาก

1. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยนำขิงแก่สด ประมาณ 2-3 เหง้ามาทุบพอแตกต้มกับน้ำ2. รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง

2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้เนื่องจากหวัด

3. รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้าวย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

4. รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ ดื่มบ่อยๆ5. แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง

6. รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบเป็นหนอง

7. รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณ