22 กันยายน 2553

ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ

นางสาว นันทยา เกตุคง รหัส 5021408219

ที่อยู่ 101/6 ถ.ประชาธิปก เขต.ธนบุรี แขวง.หิรัญรูจี กรุงเทพมหานคร 10600

เกิดวันที่ 15 มกราคม 2532

ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปี 4 คณะบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ



นาย จักรกฤษ มาลัยเพิ่ม รหัส 5021408221

ที่อยู่ 121/202 ตำบล.ท่าทราย อำเภอ.เมือง จังหวัด.สมุทรสาคร 74000

เกิดวันที่ 24 กันยายน 2525

ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปี 4 คณะบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ


นาย จักรพันธุ์ โมบัณฑิตย์ รหัส 5021408344

ที่อยู่ 489 ตำบล. ตลาด อำเภอ. กระทุ่มแบน จังหวัด.สมุทรสาคร 74110

เกิดวันที่ 6 เมษายน 2532

ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปี 4 คณะบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

10 กันยายน 2553

ประโยชน์ของกระเพรา




คนไทยรู้จักกะเพรามานานแล้ว เป็นผักอย่างหนึ่งต้นเล็ก ๆ ใบมีกลิ่นหอม ใช้แกงกินบ้าง ทำยาบ้าง นั่นคือกะเพราในวัฒนธรรมไทย ซึ่งปัจจุบัน ฐานะของกะเพราก็ไม่แตกต่างไปจากเดิม คือเป็นพืชซึ่งใช้เป็นอาหารและยาได้เช่นเดียวกับผักพื้นบ้านอีกหลายชนิด แต่เนื่องจากกะเพรามีกลิ่นหอมฉุนและรสเผ็ดร้อน ชาวไทยจึงไม่นิยมกินกะเพราโดยตรงเหมือนผักชนิดอื่น ๆ แต่นิยมนำไปเป็นเครื่องปรุงรสชาติและกลิ่นในการประกอบอาหารต่างๆ ตัวอย่างเช่นคนไทยส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงกะเพรา ก็มักจะนึกถึงเมนูหรือรายการอาหารยอดนิยมจากกะเพรานั่นคือ “ผัดกะเพรา (หมู ไก่ เนื้อ )” ร่วมอยู่ในรายการยอดนิยมอย่างหนึ่งเป็นแน่ คงจะจำกลิ่นผัดกะเพราที่ทั้งฉุนตลบอบอวลไปทั่วทั้งร้านและบริเวณใกล้เคียง จนทำให้เกิดเสียงไอจามดังได้เป็นแน่

กะเพรามีกลิ่นและรสชาติที่รุนแรงเฉพาะตัว จึงมักนิยมใช้ดับกลิ่นคาวในตำราอาหารไทยเช่น ผัดกบ ผัดปลาไหล ผัดหมู ฯลฯ พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นพวกแกงต่างๆ เช่น แกงเลียงใบกะเพรา สำหรับมารดากินหลังคลอดใหม่ๆ เพื่อขับลมบำรุงธาตุให้ปกติเป็นยาขับน้ำนม นอกจากนี้ยังมีแกงป่า แกงเขียวหวาน แกงคั่ว แกงส้มมะเขือขื่น แม้แต่ต้มยำต่างๆ ใส่ใบกะเพราผัดเผ็ดต่างๆทอดใบกะเพราให้กรอบแล้วนำมาโรยหน้าอาหาร ใส่อาหารได้สารพัดนอกจากที่กล่าวมา

กะเพราจัดเป็นพืชสมุนไพรได้อย่างเต็มตัวชนิดหนึ่ง เพราะมีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตำราไทยและต่างประเทศ ก็ระบุความเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ของกะเพราเอาไว้หลายด้านเช่น ตำราสมุนไพรไทย บรรยายสรรพคุณด้านยาของสมุนไพรเอาไว้ว่า รสฉุน ร้อน ขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น ปวดท้องบำรุงธาตุ แก้จุดเสียดในท้อง ช่วยย่อยอาหาร

ในตำราสมุนไพรไทย ได้จัดแบ่งสมุนไพรออกเป็นจำพวกต่างๆ รวมทั้งพิกัดอีกมากมาย ในจุลพิกัดซึ่งมีสมุนไพรกลุ่มละ 2 ชนิดนั้น ระบุถึงกลุ่มที่เรียกว่า ”กะเพราทั้ง 2 ” หมายถึง ส่วนราก ต้นใบ ดอก และ ผลของกะเพรา ซึ่งใช้ด้วยกันทั้งหมดในตำรานั้น ในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณซึ่งมีอยู่ 6 ตำรับนั้น มีอยู่ตำรับหนึ่งชื่อว่า”ยาประสะกะเพรา” หมายถึง มีกะเพราเป็นสรรพคุณหลักของกะเพรานั่นเอง

นอกจากนี้กะเพรายังเป็นส่วนประกอบของยาอีกมากมาย เช่น ยารักษาตานขโมยสำหรับเด็ก ยาแก้ทรางเด็ก และยากินให้มีน้ำนมสำหรับมารดาเป็นต้น ในต่างประเทศมีการใช้กะเพราเป็นยารักษาโรคอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าประเทศไทย เสียอีก โดยเฉพาะในอินเดียถือว่ากะเพราใช้รักษาโรคได้ทุกโรคเลยทีเดียวกะเพราเป็นพืช ที่ปลูกง่ายมากชนิดหนึ่งเพื่อแต่โรยเมล็ดลงบนพื้นดินแล้วรดน้ำพอชุ่มชื้น กะเพราก็จะงอกงามได้ดี

ประโยชน์ของเห็ด

ประโยชน์ของเห็ด




เห็ด เป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ และไม่มีคอเลสเตอรอล มีแร่ธาตุที่เป็น ประโยชน์อย่างโปแตสเซียมซึ่งช่วยลดความดันโลหิต และซีลีเนียมซึ่งเป็นตัวสาร ต้านมะเร็ง รวมทั้งยังมีวิตามินต่างๆ และกรดอะมิโนต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ ในปริมาณพอสมควร

การกิน "เห็ดสามอย่าง" ก็จะยิ่งได้ประโยชน์ ยิ่งกว่ากินเห็ดเพียงอย่างเดียว เหมือนกับส่วนผสมของดินปืน ที่เมื่อแยกส่วน ออกมาแต่ละตัวแทบจุดไม่ติดไฟ แต่พอนำมารวมกันก็กลายเป็นระเบิด

ใน หนังสือ "นาฬิกาชีวิต" ของ อ.สุทธิวัสส์ คำภา บอกว่า เห็ดสามอย่างเมื่อรวม กันนั้นจะมีค่ากรดอะมิโนที่สามารถลดอัตราการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ทั้ง ยังช่วยล้างพิษที่สะสมในตับ ทั้งจากอาหารและสารเคมี เช่น พิษจากสุรา สารตก ค้างในเนื้อสัตว์ สารเคมีจากเครื่องสำอาง และพิษจากสารอนุมูลอิสระ นอกจาก นั้นยังล้างไขมันในตับ ทำให้ตับเเข็งแรง สร้างเม็ดเลือดแดงได้ดี

การ กินเห็ดสามอย่างที่ว่านี้ ก็คือเห็ดอะไรก็ตามที่กินได้ ไม่ว่าจะเป็นเห็ด ฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดเข็มทอง ฯลฯ และจะนำมาทำแกงเลียง แกงส้ม ต้ม ยำ ย่าง หรือทำอาหารประเภทใดก็ได้ โดยที่ไม่ต้องใช้น้ำมัน นอกจากนั้นยังต้ม เป็นน้ำซุปเห็ดดื่มก็ได้ด้วยโดยการนำเห็ดอะไรก็ได้ 3 อย่าง มาล้าง หั่นและ นำไปต้มรวมกันในน้ำสะอาด ใส่มะตูมแว่นที่ปิ้งจนหอมมาต้มรวมกัน ดื่มแทนน้ำ ซุปได้ ส่วนเนื้อเห็ดนำไปทำอาหารอื่นๆ ได้อีกด้วย

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ




หลายคนคงเคยได้ลองลิ้มรสน้ำกระเจี๊ยบ น้ำสมุนไพรสีแดงสด รสชื่นใจกันมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่เคยทำความรู้จักกับ "กระเจี๊ยบ" กันอย่างจริงๆจังโดยกระเจี๊ยบนั้นเป็นพืชสมุนไพรไทยที่ปลูกกันทั่วไป แต่จะพบมากในภาคกลาง การบริโภคนั้นจะนำผลของมันมากิน
โดยมีให้เลือกกินกันได้สองแบบ คือ "กระเจี๊ยบแดง" และ "กระเจี๊ยบเขียว"

สำหรับผลกระเจี๊ยบแดงนั้นมีลักษณะค่อนข้างกลม มีกลีบเลี้ยงหนาสีแดง เรามักจะนำผลแห้งใช้มาต้มทำน้ำกระเจี๊ยบ รสเปรี้ยวของดอกกระเจี๊ยบทำให้ชุ่มคอ กัดเสมหะ แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ขับเมือกมันในลำไส้ บำรุงโลหิต ช่วยขับ
ปัส สวะ และยังสามารถลดไขมันในเลือด และสารสีแดงในผลกระเจี๊ยบนั้นก็ยังมีสาร anthocyanin ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติอีกด้วย

ส่วนผลกระเจี๊ยบเขียวนั้น จะมีลักษณะยาวรีเป็นสีเขียว นิยมนำมาลวกกินกับน้ำพริก เมื่อเคี้ยวฝักกระเจี๊ยบเขียวแล้วจะรู้สึกลื่นๆในปาก เพราะฝักกระเจี๊ยบเขียวจะมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ที่ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เหมาะกับคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร ทั้งยังช่วยรักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง ช่วยระบาย และสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย

ประโยชน์ของเตยหอม

ประโยชน์ของเตยหอม



“เตยหอม” สรรพคุณและวิธีใช้
ส่วนที่เป็นประโยชน์ของเตยหอม คือ ราก และใบ แต่ละส่วนของเตยหอมจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้

- ใบเตย ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ใบเตยต้มกับน้ำ ใช้รับประ ทานแก้หวัด แก้ไอ ดับพิษไข้ ดับร้อน และชูกำลัง มีคำแนะนำการทำ น้ำเตยหอม ดังนี้ ใช้ใบเตยหอมสด ๆ 200 กรัม น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วยตวง น้ำสะอาด 7 ถ้วยตวง เกลือป่น ? ช้อนชา หากไม่ชอบหวานก็ไม่ต้องใส่น้ำตาล ค่ะ

- ราก รากเตยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาเบาหวาน(เนื่องจากมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด) นอกจากนั้นยังใช้รักษาโรคตับ และไตอักเสบ

นอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้วยังนิยมใช้ใบเตยหอมแต่งสีให้เขียว เนื่องจากในใบเตยมีสารคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) และยังใช้แต่งกลิ่นให้หอมอีกด้วย เช่น แต่งกลิ่นในขนมหลายชนิด ได้แก่ ขนมขี้หนู ลอดช่องซ่าหริ่ม ขนมชั้น ฯลฯ เวลาจะใช้ใบเตยเพื่อให้สีเขียวต้องหลีกเลี่ยงความร้อนสูงนะคะ เพราะหากพบกับความร้อนสูง สีเขียวจากใบเตยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสีเขียวเป็นสีเหลือง

ประโยชน์ของดอกอัญชัน

ประโยชน์ของดอกอัญชัน




ลักษณะ
เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ต่าง ๆ
ใบเป็นใบประกอบออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 5-7ใบ ลักษณะกลมโตคล้ายพุทรา
เนื้อใบด้านบนเรียบ ปลายใบมน มีกระดูกใบเห็นได้ชัดเจนดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามข้อ
หรือซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ซึ่งมีชนิดดอกชั้นเดียว และดอก 2 ชั้น มีหลายสี ทั้งสีม่วง
สีน้ำเงิน และสีขาว ฝักมีขนาดเล็กค่อนข้างแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน

พบได้ตามทั่วไปตามที่รกร้าง และนิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อเป็นไม้ประดับ

สารที่พบ
ในดอกมีสารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดงและสีน้ำเงิน
มีคุณสมบัติเป็นอิดิเคเตอร์ (Indicator) เช่นเดียวกับ ลิสมัส (Litmus)

สรรพคุณ
รากมีรสเย็นจืดใช้เป็นยาขับปัสสาวะพิการเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงดวงตา แก้ตาอักเสบ ตาฟาง
ตาแฉะ โดยนิยมใช้รากต้นอัญชัน ชนิดดอกสีขาว นอกจากนี้ถ้านำรากมาถูฟันจะทำให้ฟันคงทน แข็งแรงและแก้อาการปวดฟันได้ดี เมล็ดใช้เป็นยาระบาย ซึ่งใช้ชนิดดอกสีนำเงินและดอกสีขาว ส่วนดอกสดนำมาทาศีรษะเพื่อใช้เป็นยาปลูกผม

ประโยชน์ของใบบัวบก

ประโยชน์ของใบบัวบก


ใครที่ชอบทานใบบัวบกกันบ้าง รู้หรือไม่ว่า ใบบัวบกนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง วันนี้เกร็ดความรู้มีเรื่องนี้มาฝากกัน...

ใบบัวบกมีคุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอสูงมาก ช่วยบำรุงสายตาและมีสารแคลเซี่ยมมากเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีวิตามินบี 1 สูงกว่าผักหลาย ๆ ชนิด เหมาะกับสุขภาพ

ใบบัวบกมีสรรพคุณทางยา ในการแก้ช้ำใน ทำให้หายฟกช้ำได้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดอาการปวดศรีษะข้างเดียว บำรุงสุขภาพสมอง แก้ความดันโลหิตสูง แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ และขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงสุขภาพได้ดี

นอกจากนี้ในการศึกษาทางเภสัชวิทยาเพื่อค้นหาสารสำคัญ หรือหาสารออกฤทธิ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในใบบัวบก พบว่า ใบบัวบกจะให้สารไกลโคไซด์ (Glycosides) หลายชนิดที่ให้ผลต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Antioxidation) ซึ่งส่งผลให้การลดความเสื่อมของเซลล์ อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ นอกจากนี้ยังพบว่าสารไกลโคไซด์ที่ได้จากใบบัวบกยังส่งผลในการช่วยดูแลสุขภาพ เร่งการสร้างสารคอลลาเจน (Collagen) ที่เป็นโครงสร้างของผิวจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้แผลสมานตัวได้ เร็ว

ผู้ที่ควรทานใบบัวบก ได้แก่

1. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม อาทิ ผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง
2. ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องใช้สมองอย่างมาก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำ
3. ผู้ที่มีความเครียดสูงจากการทำงานหนัก
4. ผู้ที่มีความผิดปกติทางผิวหนัง และกล้ามเนื้อโดยมีอาการฟกช้ำ และผิวหนังอักเสบ
5. ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เพราะช่วยเร่งการสมานแผลให้เร็วยิ่งขึ้น

รู้ถึงประโยชน์ของใบบัวบกแล้ว ก็อย่าลืมหันมาหาทานกันได้ เพื่อสุขภาพที่ดี.

04 กันยายน 2553

ประโยชน์ของขมิ้นชัน

ประโยชน์ของขมิ้นชัน

1. ตัดแง่งขมิ้นมาพอสมควร นำมาล้างให้สะอาด (ควรทำขั้นตอนนี้ทุกครั้งของการใช้สมุนไพร) แล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเจือน้ำสุกเท่าตัวนำมาดื่มครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 - 4 ครั้ง หรือเติมเกลือเล็กน้อย เพื่อใช้รักษาอาการท้องร่วง บิด
2. ใช้ผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ นำมันผสมกับน้ำมันมะพร้าว 2 - 3 ช้อนโต๊ะ เอามาเคี่ยวด้วยไฟอ่อน จนได้น้ำมันสีเหลือง แล้วนำมาใช้ใส่แผล หรือนำมาพอกบริเวณ ที่ปวดเมื่อย หรือเคล็ดได้

3. นำผงขมิ้นมาผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม ปั้นเป็นลูกกลอน ขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทาน 2 - 3 เม็ด หลังอาหาร และก่อนนอน เพื่อรักษา อาการโรคกระเพาะ ท้องขึ้น
4. นำขมิ้นแห้ง 25 กรัม + ว่านนางคำ 200 กรัม + ไพล 50 กรัม + ดินสอพอง 1000 กรัม นำมาบดผสมกัน ใช้พอกหน้า และตัวเพื่อบำรุงผิวได้ (ถ้าผิวมันใช้ผสมกับน้ำมะกรูดเผาไฟ ถ้าผิวแห้ง ใช้ผสมกับน้ำผึ้ง หรือ นมสด) ควรพอกประมาณ 5 - 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ตามด้วยน้ำเย็น สลับกัน
5. ใช้ผงขมิ้นละลายน้ำทาบ่อย ๆตรงบริเวณที่คัน หรือ คันจากยุงกัดมดกัด
6. ทำครีมสมุนไพร เพื่อใช้แทนสบู่ และลดรอยเหี่ยวย่นและจุดด่างดำ เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหน้า โดยนำมะขามเปียก 300 กรัมมาแช่น้ำและบีบน้ำแล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วเอาตั้งใส่หม้อเคลือบตั้งไฟอ่อน ๆ เคี่ยวให้แห้งจากนั้น เติมนมสด 200 กรัม + น้ำผึ้ง 50 กรัม + ขมิ้นผง 1/2 ช้อนชา + ว่านนางคำผง 1/2 ช้อนชา คนให้แห้ง ยกลง ก็โดยชะโลมน้ำที่หน้าพอเปียก ป้ายครีมเล็กน้อย ลูบไล้จนทั่วหน้า ทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
7. วิธีทำยาทาผิว ใช้เหง้าขมิ้นสดมาหั่นบาง ๆ แล้วตากแห้ง นำมาบดเป็นผงให้ละเอียด เวลาจะใช้ให้นำมาผสมกับน้ำคนให้เข้ากัน ทาตามเนื้อตัวหรือใบหน้า หรือผสมกับน้ำนมทาตัวเอาไว้ก่อนจะอาบน้ำทิ้งไว้ 10 - 20 นาที เป็นอย่างน้อย แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือตามด้วยการอาบน้ำชำระร่างกาย ผลที่ได้รับคือ ช่วยให้ผิวนุ่มนวลเนียน แก้โรคผดผื่นคัน หรือจุดด่างดำบนร่างกายให้หายไป
8. วิธีทำครีมขัดและพอกหน้า นำขมิ้นผงผสมกับน้ำนม หรือน้ำผึ้ง จากนั้นล้างหน้า ให้สะอาดแล้วนำขมิ้นที่เตรียมไว้ขัดใบหน้าเบา ๆ จนทั่วพอกไว้อย่างนั้นประมาณ 5 นาที ล้างออกได้ด้วยน้ำอุ่น ๆ ผลที่ได้รับคือ ช่วยให้สิ้วเสี้ยนหลุดสมานผิวและรูขุมขน ช่วยรักษาแผลที่เกิดจากสิวอักเสบ ไม่ให้เกิดเป็นแผลเป็น ทำให้ผิวหน้า นุ่มและเนียน

-นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีการศึกษาพิสูจน์สรรพคุณของขมิ้นตามการใช้แบบโบราณ ก็พบว่า มีสรรพคุณมากมายตามที่เคยใช้กันมา เช่น ขมิ้นชันมีสรรพคุณในการช่วย ทำให้แผล หายเร็วขึ้นมีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ต้าน เชื้อ แบคทีเรียทีทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกัน ไม่ให้เป็น นิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม และ ยังพบว่า ช่วยชะลอความแก่ เป็นสาร ต่อต้านมะเร็งและเนื้องอกต่าง ๆ พบว่าการกินอาหารผสมขมิ้น สามารถทำลายเชื้อไวรัสที่ผ่านมาทางอาหารได้ รวมทั้งสามารถ ป้องกันมะเร็งจากสารก่อมะเร็งต่าง ๆ และยังมีสรรพคุณในการต้านไวรัส โดยเฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ขมิ้นชันจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของผู้ป่วยโรคเอดส์

31 สิงหาคม 2553

ประโยชน์ของกระชาย

ประโยชน์ของกระชาย


-"กระชาย" เป็นสมุนไพรไทย มีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญที่เรานำมาบริโภคกันอยู่ในรากและเหง้ากระชาย ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียใน ลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก และเป็นยาอายุวัฒนะ และรากกระชายนี้ก็ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องแกง ขนมจีนน้ำยา เพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อและปลาเช่น ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า หลนปลาร้า ฯลฯ


-แต่ที่ฮือฮากันที่สุดก็เห็นจะเป็น "กระชายดำ" สมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องเพิ่มพลังทางเพศ หรือที่เรียกกันว่า "โสมไทย" เพราะมีสรรพคุณที่หลากหลาย ทั้งบำรุงกำลัง เพิ่มฮอร์โมนทำให้สมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาโรคความดันโลหิตสูงขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเกาต์ โรคกระเพาะอาหาร สตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมถึงการขับผิวพรรณให้เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล นิยมนำไปผสมเหล้าดื่มเป็นยาดอง หรือจะหั่นเป็นชิ้นๆ ตากแห้งแล้วต้มน้ำร้อนดื่มแทนน้ำหรือน้ำชาก็ได้เช่นกัน รู้อย่างนี้แล้ว คราวนี้ก็คงไม่ต้องพึงยาแผนปัจจุบัน ให้มากเกินไปซึ่งมีผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว

-ประเทศไทยเรามีสมุนไพรมากมาย ที่ช่วยบำรุงสุขภาพ ฉะนั้นหันกลับมาทานอาหารแบบไทยๆ ที่มากด้วยคุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายดีกว่า อาหารตามแบบต่างประเทศที่มีแต่จะทำให้ร่างกายอ้วน เป็นเหยื่อของโรคหลายๆชนิด เช่น ความดัน เบาหวาน และโรคอ้วน เป็นต้น

ประโยชน์ของพริกขี้หนู

ประโยชน์ของพริกขี้หนู



-พริกขี้หนูถือว่าเป็น "ราชินีของพริก" เพราะเหตุที่มีรสเผ็ดจัดจ้านสุด ๆ นั่นเองที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในตัวเขามีน้ำมันระเหยที่มีฤทธิ์เป็นด่างอย่างหนึ่ง ในชื่อว่าแคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งจะสะสมตัวมากอยู่ที่บริเวณเมล็ดและรกของพริก (ทุกชนิด) แถมยังมีคุณสมบัติพิเศษสุดยอดตรงที่สามารถทนความร้อนได้ดีแม้ว่าจะผ่านกระบวนการทำให้สุกหรือตากแดดร้อน ๆ จนแห้งแล้วก็ตาม แต่ความดุเด็ดเผ็ดร้อนของรสชาติยังคงไว้เช่นเดิม

-นอกจากนี้ความเผ็ดร้อนยังไม่สลายตัวง่าย ๆ ในน้ำอีกต่างหาก เวลาจับหรือหั่นพริก บางคนจะมีอาการแสบร้อนตามมือ ล้างมือ - ล้างสบู่ยังไงก็ไม่หายง่าย ๆ

-ฤทธิ์เดชของเจ้าแคปไซซินที่มีการทดลองแล้วพบว่าเพียง 1 หยด (เท่านั้น) ที่ผสมลงในน้ำถึง 100,000 หยด ก็ยังรับรู้ถึงรสเผ็ดเข้าไปเต็ม ๆ ลิ้น ขนาดเพิ่มปริมาณเข้าไปอีก 10 เท่า เป็น 1 ล้านหยด เราก็ยังรับรู้ถึงรสเผ็ดของแคปไซซินในเจ้าพริกขี้หนูตัวนี้ได้อยู่ดี

-และใช่ว่าจะมีความเผ็ดให้น้ำหูน้ำตาได้ไหลเพียงอย่างเดียวนะจะบอกให้เพราะพริกขี้หนูเม็ดเล็ก ๆ แบบนี้ยังอัดแน่นไปด้วยสารอาหารตัวจำเป็น ชนิดที่พืชผักอื่น ๆ เขามีกันครบเซ็ตแบบไม่ขาดตกบกพร่อง ที่คุณอาจไม่เชื่อก็คือ ปริมาณของแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีนั่นมีสูงมากกว่าผักทั่วไปหลายสิบชนิดทีเดียว แถมยังให้ไฟเบอร์หรือกากใยอาหารสูง พร้อมกับเบต้าแคโรทีนตัวเก่งในปริมาณสูงถึง 140.77 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัมด้วย

ประโยชน์ของกระเทียม

ประโยชน์ของกระเทียม



-ข้อมูลจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ระบุว่า กระเทียม (garlic) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum Linn. แทบทุกครัวเรือนรู้วิธีการเจียวกระเทียมในน้ำมันให้หอมก่อน แล้วจึงใส่เนื้อสัตว์หรือผัก เป็นวิธีดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และเพิ่มรสชาติให้กับอาหารประเภทผัดชนิดต่างๆ ได้อย่างดี ทั้งยังใช้กระเทียมเจียวโรยหน้าอาหารอีกหลายอย่าง หรือใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในเครื่องแกงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเป็นตัวช่วยแต่งกลิ่นและรสร่วมกับมะนาวในน้ำพริกกะปิ แม้แต่พริกน้ำปลาหรือน้ำจิ้มรสแซบก็จะลืมกระเทียมไปไม่ได้ นอกจากนี้ใบและหัวกระเทียมสดๆ ยังเป็นผัก รวมถึงกระเทียมดองของอร่อย
-กระเทียมยังเป็นสมุนไพรแก้ไขบรรเทาปัญหาสุขภาพของชาวบ้านมาโดยตลอด หมอพื้นบ้านไทยใช้กระเทียมสดรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โรคบิด ป่วง แก้ไอ และกระจายโลหิต กระทั่งเป็นที่สรุปได้ว่า กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่น 2 ประการ คือ ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง และรับประทานแก้โรคความดันโลหิตสูง
-การศึกษาทดลองคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาในระยะหลัง พบว่า กระเทียมมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกหลายอย่าง แต่การนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้ผลอย่างจริงจังยังจะต้องมีการศึกษาผลทางคลินิกวิทยาให้ถ่องแท้เสียก่อน โดยสรรพคุณต่างๆ ของกระเทียมมีดังนี้
1.ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม
2.ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
3.ลดความดันโลหิตสูง
4.ลดไขมันและคอเลสเตอรอล
5.ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
6.ลดน้ำตาลในเลือด
7.ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดมีตัวที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
8.ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม
9.รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
10.เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ
11.รักษาโรคไอกรน
12.แก้หืดและโรคหลอดลม
13.แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย
14.ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย
15.ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงานทดสอบจากอินเดียว่า กระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี
16.แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น
17.แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย
18.ต่อต้านเนื้องอก
19.กำจัดพิษตะกั่ว
20.บำรุงร่างกาย

-ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย และยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า

ประโยชน์ของตำลึง

ประโยชน์ของตำลึง



-ตำลึง ซึ่งมีลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย มีมือจับเกาะยึดต้นไม้อื่นๆ มีดอกสีขาว มีผลเป็นรูปยาวรีคล้ายแตงกวา มีใบเป็นรูปทรงคล้ายหัวใจ เวลาเอาใบและยอดอ่อนๆ มาแกงจืดกับหมูสับแล้วละก็... อร่อยอย่าบอกใคร
-ไม่ใช่แค่อร่อยอย่างเดียว แต่ตำลึงยังมีประโยชน์อีกมาก มีทั้งสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกและฟัน มีฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไนอาซิน และวิตามินซี ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า หากใครกินตำลึงบ่อยๆ เส้นใยอาหารในตำลึงก็สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและได้อีกด้วย
-นอกจากนั้นตามตำราแพทย์แผนโบราณ ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษ และถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน โดยใช้ใบตำลึงสดๆ ประมาณ 1 กำมือมาล้างให้สะอาด แล้วตำให้ละเอียด ผสมน้ำเล็กน้อย นำมาทาบริเวณที่มีอาการคันก็จะหายได้
-ตำลึงเป็นผักที่พบได้ง่าย แถมปลูกก็ยังง่าย เพียงแค่เอาเมล็ดจากผลที่สุกจัดๆ มาเพาะ หรือเอาเถาแก่ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว มาปักลงในดินผสมปุ๋ย หมั่นรดน้ำบ่อยๆ และหาไม้มาทำหลักให้ตำลึงเลื้อยเมื่อเถาเริ่มงอก ปลูกเอาเองไม่ต้องซื้อของใคร แค่นี้ก็ได้ต้นตำลึงเอาไว้กินแกงจืดกันได้ทุกมื้อ และถ้ายิ่งเด็ด ยอดตำลึงก็จะยิ่งขึ้นงาม เพราะฉะนั้นจะลองเปลี่ยนเมนูเป็นแกงเลียง ต้มเลือดหมู หรือจะนึ่งจิ้มน้ำพริกก็กินกันได้ไม่มีเบื่อ

30 สิงหาคม 2553

ประโยชน์ของโสม

ประโยชน์ของโสม



โสม จัดเป็นราชาแห่งสมุนไพรทั้งปวง หรือ King of Herbs เป็นสมุนไพรจีนที่สำคัญซึ่งใช้รักษาโรคมากกว่า 2,000 ปี ทำไมคนเราถึงนำโสมมาใช้กันอย่างแพร่หลายเรามาลองดูสรรพคุณของโสมกันเลยค่ะ

  • โสมเกาหลีมีฤทธิ์อุ่น มีสรรพคุณเพิ่มเลือด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • โสมจีนและโสมอเมริกามีฤทธิ์เย็น ช่วยบำรุงปอด ไต หัวใจ ระบบย่อยอาหาร แก้ร้อนใน แก้พิษสุรา
  • โสมมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและการได้ยิน นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณช่วยลดความเครียด กระตุ้นระบบประสาท
  • สารต้านอนุมูลอิสระในโสมช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ
  • กระตุ้นการไหลเวียนเลือด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญอาหารได้ดีขึ้น
  • สารไบโอแอกทีฟ (bioactive) ในโสมช่วยรักษาเบาหวาน มะเร็ง ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ความดันโลหิตสูง โรคในสตรี โรคนอนไม่หลับ และรักษาโรคความจำเสื่อม
  • ช่วยให้ม้ามทำงานได้เป็นปกติ ช่วยเจริญอาหาร แก้มือเท้าเย็น บำรุงกระเพาะ รักษาอาการเหงื่อออกมาก คลื่นไส้ ไอ อาเจียนเป็นเลือด และช่วยให้ชีพจรเต้นเป็นปกติ

ประโยชน์ของโหระพา

ประโยชน์ของโหระพา



- ใบสด : แก้ท้องอืด เฟ้อ ขับลมจากลำไส้ ต้มดื่มแก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร - ตำพอกหรือประคบแก้ไขข้ออักเสบ แผลอักเสบ

- ยอดอ่อนตำปิดแผลงูกัด

- ต้มกับน้ำนมราชสีห์ รับประทานเรียกน้ำนม

- ตำกับแมงดาตัวผู้ รับประทานและพอกแก้พิษคางคก

- ใช้ใบและต้นสดประมาณ 6-10 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้หวัด ขับเหงื่อ

- นำใบแห้งเก็บไว้ ต้มน้ำให้เดือด แล้วต้มใบแห้ง 10-20 นาที ดื่มวันละ 3 ถ้วยต่อวัน มีสรรพคุณต้านเชื้อก่อโรคด้วย

- เด็กปวดท้องใช้ใบโหระพา 20 ใบ ชงน้ำร้อนและนำมาชงนมให้เด็กดื่ม ปลอดภัยกว่ายาขับลมที่ผสมแอลกอฮอลล์ ไม่ควรใช้กับเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ หรือผู้ใหญ่อายุมากว่า 65 ปี

- ใบโหระพาเป็นแหล่งเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคร้าย เช่น โรคหัวใจขาดเลือดและมะเร็ง โหระพา 1 ขีด มีเบต้าแคโรทีนสูง คือ 452.16 ไมโครกรัม ร่างกายผู้ใหญ่ต้องการเบต้าแคโรทีน 800 ไมโครกรัม เราไม่กินใบโหระพามากมายนัก แต่เบต้าแคโรทีน มีอยู่ในผักใบเขียวเข้มทุกชนิด การกินผักให้มากที่สุดโดยกินโหระพาไปด้วยจะทำให้เราได้เบต้าแคโรทีน เพียงพอ

- ใบโหระพามีกลิ่นเฉพาะใช้เป็นผักสด ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารและมีธาตุแคลเซียมสูงด้วย

ใบโหระพามีน้ำมันหอมระเหย ร้อยละ 1.5 องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญ คือ (Methylcha vicol) และสกัดได้จากใบโหระพาพันธุ์ไทย โดยการกลั่นด้วยไอน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลวใสสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองอมน้ำตาลปราศจากตะกอนและสารแขวนลอย ไม่มีการแยกชั้นของน้ำ มีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติแก้จุกเสียดแน่นท้อง น้ำมันหอมระเหยช่วยการย่อยอาหารเนื้อสัตว์ ช่วยคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงช่วยให้สบายท้องขึ้น น้ำมันโหระพา มีกลิ่นหอมหวาน มีคุณสมบัติช่วยให้สงบ มีสมาธิ ลดอาการซึมเศร้า มีข้อควรระวังในการใช้ในสปา คือ ทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง

ประโยชน์ของมะกรูด

ประโยชน์ของมะกรูด



มะกรูด เป็นพืชที่อยู่คู่ครัวไทยมานานและจัดได้ว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มากมายมหศาล เลยก็ว่าได้ เมื่อเอ่ยชื่อ มะกรูด แทบไม่มีใครเลยที่จะไม่รู้จัก เป็นที่ทราบกันมาแต่โบร่ำโบราณแล้วว่ามะกรูดไม่เพียงแต่ทำให้ผมดำเงางามเท่านั้น แต่มะกรูดยังกำจัดรังแค แก้คันศรีษะ แก้ผมแตกปลาย ป้องกันผมร่วง และหงอกช้าอีกด้วย กรรมวิธีในการนำมะกรูดมาสระผมนั้นก็มีด้วยกันหลายวิธี แต่ที่นิยมมากเห็นจะเป็นการนำลูกมะกรูดไปเผาไฟแล้วนำน้ำมายีที่ศรีษะแล้ว ล้างออก แต่ด้วยวิวัฒนการที่ทันสมัยมากขึ้นในปัจจุบัน จึงเห็นมะกรูดเป็นส่วนประกอบในแชมพูสระผม ครีมนวด หลายยี่ห้อ

นอกจากนี้แล้วมะกรูดยังได้อยู่คู่ครัวไทยมานานแสนนาน ดังจะเห็นได้จากอาหารขึ้นชื่อหลายชนิด

เลยทีเดียวที่มีส่วนผสมของมะกรูด ที่มองไม่เห็นว่าใช้มะกรูดเป็นส่วนผสมก็ได้แก่ พริกแกงต่างๆ ของไทยที่ใช้ผิวจากลูกมะกรูดเป็นส่วนผสม น้ำมะกรูดใช้ปรุงรสเปรี้ยวในแกงเทโพ แกงส้ม เพราะมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวอมหวานกลมกล่อม อาหารบางอย่างที่เห็นชัดเจนว่ามีมะกรูดเป็นส่วนผสม ได้แก่ ต้มยำ ต้มข่า ต้มแซบ หรือซอยโรยหน้าห่อหมก ฉู่ฉี่ พะแนง และใส่เป็นส่วนผสมทอดมัน เป็นต้น

มะกรูดมีการใช้ประโยชน์อย่างมาก เป็นได้ทั้งเครื่องเทศและยาสมุนไพร และเนื่องจาก ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก จึงถูกนำไปสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย บางครั้งกลิ่นฉุนของ มะกรูดยังสามารถไล่แมลงบางชนิดได้เป็นอย่างดี

สรรพคุณทางยาของมะกรูดนั้นได้แก่ ผลสด ผิวมะกรูด หอมร้อน แก้ลมหน้ามืด บำรุงหัวใจ ขับระดู ขับลม ส่วนผลที่มีรสเปรี้ยว ก็ใช้ขับเสมหะ ฟอกเลือด สระผมขจัดรังแค รากใช้แก้พิษฝีภายใน ใบ แก้ช้ำใน ดับกลิ่นคาว เป็นต้น

ทางด้านความเชื่อ มะกรูดเป็นไม้มงคลที่ควรปลูกไว้ในบ้านโดยปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เชื่อกันว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัย มีความสุข

28 สิงหาคม 2553

ประโยชน์ของตะไคร้

ประโยชน์ของตะไคร้

ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ

หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัย

เส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย

ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย

ประโยชน์ของขิง

ประโยชน์ของขิง


ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและจะมีใยอาหารมาก

1. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยนำขิงแก่สด ประมาณ 2-3 เหง้ามาทุบพอแตกต้มกับน้ำ2. รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง

2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้เนื่องจากหวัด

3. รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้าวย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

4. รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ ดื่มบ่อยๆ5. แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง

6. รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบเป็นหนอง

7. รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณ

16 กรกฎาคม 2553

ประโยชน์ของมะระขี้นก

ประโยชน์ของมะระขี้นก

-มะระเป็นพืชล้มลุก ชนิดไม้เถามีมือเกาะ ตามลำต้นมีขน ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปฝ่ามือกว้างและยาวประมาณ 4-7 ซม. ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึก 5-7 แฉก ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองรูประฆัง

-มะระสามารถแบ่งตามลักษณะของผลได้ 2 ชนิด
1. มะระขี้นก (มะระไทย) คือมะระที่มีผลเล็กๆ สั้นป้อม หัวแหลม ท้ายแหลม ผลยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ผิวผลขรุขระ สีเขียวแก่ รสขมจัดกว่ามะระจีน มะระชนิดนี้เป็นพืชพันธุ์ของไทย และเป็นชนิดที่มีสรรพคุณตามตำรายาไทย
2. มะระจีน ผลยาวใหญ่สีขาวอมเขียว ผิวขรุขระ ร่องใหญ่ ผลยาวประมาณ 4-9 นิ้ว อาจยาวถึง 10-12 นิ้ว นอกจากนี้ลำต้นของมะระจีนยังมีขนเยอะกว่ามะระขี้นก

-สรรพคุณในตำรายาไทย
1.ช่วยเจริญอาหาร ใช้เนื้อของผลที่ยังไม่สุกใช้เป็นอาหาร ผักจิ้ม ต้ม แกง
2.รักษาเบาหวาน ใช้ผลโตเต็มที่ หั่นเนื้อมะระตากแห้ง ชงน้ำ รับประทานต่างน้ำชา
3.แก้ไข้ ผลต้มรับประทานแต่น้ำเป็นยาแก้ไข้ หรือ ดื่มน้ำคั้นจากผล
4.ปากเปื่อย ปากเป็นขุย น้ำคั้นจากผลใช้อม
5.บำรุงระดู ดื่มน้ำคั้นจากผล
6.แผล ฝี ใช้ผลตำพอกฝี แก้บวม แก้ ปวด

-ข้อมูลทางคลินิกในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV (ประสบการณ์จากผู้ป่วยที่ใช้สารสกัดจากมะระจีนในต่างประเทศ)ประสบการณ์ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV พบว่าการใช้น้ำคั้นหรือน้ำต้มจากใบหรือผลสดสวนทวารพบว่าค่า CD4 เพิ่มขึ้นจาก 480 เป็น 1060 และ CD4/CD8 เพิ่มขึ้น จาก 0.91 เป็น 1.54 และต่อมาพบว่าการตรวจ P24 antigen จากเลือดให้ผลลบ (เวลาในการสังเกตผลประมาณ 2-3 ปี) อาการข้างเคียงที่พบคือ ร้อนวูบวาบทันทีหลังจากสวนทวาร อึดอัดแน่นท้องถ้าสวนทวารไม่ถูกวิธี การใช้ก่อนนอนอาจทำให้นอนไม่หลับ

-การเตรียมโปรตีนจากมะระขี้นกใช้เองใช้เมล็ดจากผลสุกประมาณ 70 เมล็ด เอาเนื้อเยื่อสีแดงที่หุ้มเมล็ดออก ล้างให้สะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ กระเทาะเปลือกเมล็ด แล้วนำเนื้อสีขาวที่กระเทาะเปลือกออกแล้วมาล้างน้ำ เติมน้ำหรือน้ำเกลือแช่เย็น 90-100 ซีซี ปั่นในเครื่องปั่นจนได้น้ำสีขาวข้น จากนั้นก็กรองด้วยผ้าขาวบาง 2-3 ชั้น นำน้ำที่กรองได้สวนทวารครั้งละ 10 ซีซี ทุกขั้นตอนควรทำในสภาวะที่เย็นเพื่อป้องกันการสลายตัวของโปรตีน

ประโยชน์ของชาเขียว

ประโยชน์ของชาเขียว


-สดชื่น...แจ่มใส !!! สดชื่นยังไงหน่ะเหรอจ๊ะ เอาตั้งแต่เริ่มแรกกันเลยนะ ชาช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราสดชื่นสะอาดปลอดโปร่งและน่าอยู่ขึ้น มีงานวิจัยชิ้นใหม่ชี้ว่า ถุงชา (tea bag) ช่วยบำบัดโรค "sick-house syndrome" หรือ "มลภาวะภายในอาคารเป็นพิษ" (Indoor Air Pollution) ซึ่งเป็นอาการป่วยที่มีสาเหตุมาจากการแพ้อากาศภายในอาคารและบ้านที่พักอาศัย เช่น สารเคมีจากสีทาบ้านหรือจากเฟอร์นิเจอร์ต่า ๆ ภายในบ้านเนื่องจากสารฟอร์มัลดีไฮด์ (formal-dehyde) ที่ผสมอยู่ในสารเคมีเพื่อการตกแต่งบ้าน มักจะส่งกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ อาจเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายเกิดอาการแพ้และมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ จากการทดลองพบว่าใบชาดำหรือชาเขียว ทั้งที่ยังใหม่และที่ใช้แล้ว (ผ่านการชงแล้ว) จะดูดสารนี้ไว้แล้วไม่ปลดปล่อยสารกลับเข้าสู่บรรยากาศหลังจากดูดไว้แล้ว และถ้าทิ้งใบชาไว้ในที่อับหรือปิด เช่น ในตู้เก็บถ้วยชาม ใบชาจะช่วยลดปริมาณของสารฟอร์มัลดีไฮด์ที่มีอยู่ในอากาศอีกด้วย
-กำจัดเนื้อร้าย ในชาเขียวมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ที่จำเป็นต่อการเติบโตหรือการลุกลามของเซลล์มะเร็ง และสามารถทำลายหรือฆ่าเซลล์มะเร็งได้โดยไม่มีผลกระทบกับเซลล์ดีอื่น ๆ ยังมีผลการวิจัยอื่น ๆ อีกพบว่า ชาเขียวอาจจะเป็นอาวุธที่ใช้กำจัดบรรดาเนื้อร้ายต่าง ๆ ให้ราบคาบลงได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งในหลอดอาหารและมะเร็งในตับ เป็นต้น มีผลการศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ชัดว่า ญี่ปุ่นซึ่งมีอัตราของผู้สูบบุหรี่สูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง แต่กลับมีอัตราของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดต่ำสุด เมื่อเปรียบเทียบกับบรรดาประเทศที่พัฒนาอื่น ๆ ทั้งนี้เนื่องมาจากชาวญี่ปุ่นบริโภคชา พร้อมกับอาหารเป็นประจำทุกมื้อมาช้านานแล้ว เ
-รื่องของหัวใจ??? มีการศึกษาว่า การดื่มชาเขียวช่วยลดอัตราการเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) จากผลการวิจัยอื่น ๆ ยังพบอีกว่า ชาเขียวมีสรรพคุณเทียบเท่ายาแอสไพริน ในการช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจวายและหลอดเลือดสมอง นอกจากนั้นแล้วยังมีการวิจัยพบว่าสตรีชาวญี่ปุ่นอายุ 40 ปีขึ้นไปที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่ แต่บริโภคชาเขียวเป็นประจำประมาณห้าถ้วยต่อวัน มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์
-น้ำพุแห่งวัยหนุ่มสาว มีการพิสูจน์แล้วว่าสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียว สามารถช่วยชะลอความชราและคงความเยาว์วัยได้ ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวไม่เพียงแต่จะมีประสิทธิภาพสูงมากกว่าวิตามินซีถึง 100 เท่า แต่ยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามินอีอีกถึง 25 เท่าในการทำลายอนุมูลอิสระ (สาว ๆ ตาโตกันเชียว)
-ต้านโรคไขข้ออักเสบ กล่าวกันว่าชาเขียวช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูห์มาติก (rheumatoid arthritis) ที่มักจะเกิดกับสตรีวัยกลางคน อาการของโรคโดยทั่วไปคือมีอาการของการอักเสบบวมแดง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ
-ลดระดับคอเลสเทอรอล สารแคเทชินในชาเขียว ช่วยทำลายคอเลสเทอรอล และกำจัดปริมาณของคอเรสเทอรอลในลำไส้ แค่นั้นยังไม่พอ ชาเขียวยังช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่พอดีอีกด้วย
-ควบคุมน้ำหนัก ถ้าคุณกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่ การจิบชาเขียวสามารถช่วยได้ดีทีเดียว จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์พบว่า ชาเขียวช่วยเร่งให้ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารและไขมันมากขึ้น
-ต่อสู้กลิ่นปากและแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ การดื่มชาเขียวนอกจากจะทำให้ร่างกายอบอุ่นแล้ว ยังช่วยทำให้ลมหายใจสดชื่นและป้องกันการติดเชื้อได้ด้วย อันที่จริงแล้วพบว่าชาเขียวเป็นตัวช่วยยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก ต่อสู้กับเชื้อไวรัสในปากโดยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ผลการทดลองชี้ว่ายาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากอย่างเดียวนั้น ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส ผลการศึกษาสรุปว่า สารพอลิฟีนอลส์ในชาเขียวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียถึง 30% และลดการผลิตของสารประกอบที่เป็นสาเหตุทำให้ลมหายใจเหม็นบูด นอกจากนี้ชาเขียวมีสรรพคุณช่วยป้องกันฟันผุ โดยช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่ชื่อ Streptococcus mutans ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดหินปูนที่มาเกาะฟัน คนส่วนใหญ่จะดื่มชาเขียวหลังอาหาร เพื่อช่วยให้ลมหายใจและกลิ่นปากสะอาดสดชื่น
-ป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวี ข้อมูลในวารสารวิทยาภูมิคุ้มกันทางการแพทย์ และโรคภูมิแพ้ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายนตีพิมพ์ไว้ว่า สารแคเทชินในชาเขียวโดยเฉพาะพระเอกตัวเก่ง EGCG มีสรรพคุณป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ชาเขียวเข้มข้นช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเอชไอวี จับตัวกับเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดที่มีความสำคัญต่อภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราที่เรียกว่า "ทีเซลล์" (T cells) ซึ่งเป็นด่านแรกที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ ถ้ามีผลการศึกษาเพิ่มเติมยืนยันผลการวิจัยดังกล่าวนี้ นักวิจัยกล่าวว่าจะนำสารในชาเขียวมาใช้ทดลองในการผลิตยาชนิดใหม่ เพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อเอชไอวี

-นอกจากประโยชน์และสรรพคุณมากมายจากการดื่มชาเขียวที่บอกไปแล้วนั้น ชาเขียวยังมีประโยชน์อีกมากมายอาทิ ช่วยห้ามเลือดหรือทำให้เลือดไหลช้าลง บรรเทาอาการผื่นคันและแมลงสัตว์กัดต่อย น้ำมันจากต้นชาที่ผสมในแชมพูและครีมบำรุงผิวช่วยบำรุงผิว และทำให้เส้นผมเป็นประกายเงางาม นอกจากนี้นักวิจัยยังกำลังศึกษาเพิ่มเติมว่าชาเขียวอาจจะช่วยป้องกันผิว จากอันตรายของแสงแดดได้

ประโยชน์ของว่านหางจระเข้

ประโยชน์ของว่านหางจระเข้


-แก้ปวดศีรษะ นำว่านหางจระเข้ตัดให้เป็นแว่นบางๆ เอาปูนแดงทาที่วุ้น แล้วปิดที่ขมับ จะทำให้เย็นหายปวด

-แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้น้ำเมือกจากว่านหางจระเข้รักษา แผลไฟลวก ขนาดรุนแรงที่สุด โดยทาน้ำเมือกที่แผลให้เปียกอยู่เสมอ แผลจะหายรวดเร็วมาก อาการปวดแผลหรือการเกิดแผลเป็นจะมีน้อยมากหรือไม่มีเลย

-ผิวไหม้เพราะถูกแดดเผา ใช้วุ้นหางจระข้ทาบ่อยๆ ช่วยลด อาการปวดแสบปวดร้อน ผิวตึง และลดจำนวนผิวที่ลอก

-แผลจากของมีคมและแผลอื่นๆ ทำความสะอาดแผลเสียก่อน แล้วเอาวุ้นปิดลงที่แผลให้สนิท เอาผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงไปให้ผ้าตรงบริเวณที่แผลเปียกอยู่เสมอ ช่วยให้แผลหายเร็ว และลดรอยแผลเป็น

-กระเพาะลำไส้อักเสบ รับประทานวุ้นหางจระเข้ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ วันละหลายๆ ครั้ง ใช้ได้ผลในรายที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืออวัยวะอื่น ในทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ

-บำรุงผมและหนังศีรษะ ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ชโลมผมให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้ง รุ่งเช้าจึงใช้น้ำล้างออก ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม หวีง่ายขึ้น และรักษาแผลบนหนังศีรษะ ( ก่อนใช้ควรทดลองก่อนว่า แพ้ว่าน หรือไม่ และควรใช้แต่น้อยดูก่อน ที่สำคัญอย่าให้ยางถูกผมเพระายางจะ กัดหนังหัว)

- ป้องกันการติดเชื้อ ใช้วุ้นหางจระเข้ ทาแผลรักษาแผลติดเชื้อได้ ทำให้แผลดีขึ้น ภายใน ๑๒ ชั่วโมง

-ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้สารต่างๆ เนื่องจากวุ้นหางจระข้จะมีฤทธิ์ระงับปวด จึงช่วยลดอาการคันด้วย และยังช่วยให้ผื่นคันหายเร็ว

-ขี้เรือนกวาง และผื่นปวดแสบปวดร้อน ใช้วุ้นหางจระเข้ กินวันละ ๑-๒ ครั้งๆ ละ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ และทาควบคู่กันไป ว่านหางจระเข้ เป็นยาฝาดสมาน อาจทำให้ผิวแห้งได้ จึงควรผสมน้ำมันทาผิว หรือ น้ำมันอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย-ลบรอยแผลเป็น ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทา เช้า-เย็น จะลดรอย แผลเป็น

-ลบท้องลายหลังคลอด ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาผิวท้อง ขณะตั้ง ครรภ์ แม้หลังคลอดแล้วก็ควรใช้ทาต่อเพื่อช่วยให้ผิวหน้าท้องกลับคืนสู่ สภาพปกติ คนที่เคยใช้ยืนยันว่าได้ผลดี

-เส้นเลือดดำขอดที่ขา ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาที่บริเวณเส้นเลือด ดำขอด และมีบางคนใช้ได้ผลดีมาก

-มะเร็งที่ผิวหนัง ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาวันละ ๒-๔ ครั้ง เป็นเวลาหลายเดือน

-แผลครูดและแผลถลอก ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาเบาๆ ให้ทั่วใน ๒๔ ชั่วโมงแรก ทาบ่อยๆ แผลจะไม่ค่อยเจ็บและหายเร็วมาก

-โรคปวดตามข้อ รับประทานวุ้นว่านหางจระเข้ เป็นประจำจะหาย ปวดได้

ประโยชน์ของสะระแหน่

ประโยชน์ของสะระแหน่







สะระแหน่ เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์หลายอย่าง วันนี้เกร็ดความรู้มีเรื่องนี้มาฝากกัน...
- สะระแหน่สามารถแก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในกระเพาะ โดยการนำน้ำที่คั้นจากต้น และใบมาใช้ดื่ม หรือจะรับประทานสด ๆ เพื่อดับกลิ่นปาก
- ช่วยลดอาการจุกเสียดท้องในเด็กได้ โดยนำใบสะระแหน่ 2-3 ใบ มาบดให้ละเอียด ผสมกับยาหอม แล้วนำมากวาดคอเด็ก อาการเสียดท้องจะทุเลาลง เพราะน้ำมันหอมระเหย ของสะระแหน่ ยังเป็นยาที่ช่วยยับยั้งเชื้อโรค และลดอาการเกร็งของลำไส้
- นอกจากนี้ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ ป้องกันไข้หวัด บำรุงสายตา และช่วยให้หัวใจแข็งแรง
- สะระแหน่มี เบต้า-แคโรทีน มากถึง 538.35RE แคลเซียม 40 กรัม วิตามินซีถึง 88 มิลลิกรัม เมื่อทาน 100 กรัม

รู้อย่างนี้แล้วก็ลองหันมาทานสะระแหน่กันได้ เพื่อสุขภาพที่ดี.

ประโยชน์ของหอมแดง

ประโยชน์ของหอมแดง


-"หอมแดง" มักถูกใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นลาบ น้ำตก หรือเป็นผักกินแกล้มกับอาหารเช่นข้าวซอย หรือเป็นส่วนประกอบในน้ำจิ้มอาจาด ซึ่งส่วนประกอบเล็กๆ อย่างหอมแดงนี้ก็ให้คุณประโยชน์กับคนกินมากมายเช่นกัน

-ในหอมแดงหัวเล็กๆ นี้ มีประโยชน์มากกว่าลูกพี่อย่างหอมหัวใหญ่เสียอีก โดยในหอมแดงสดจะมีน้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบ อีกทั้งยังมีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และหากกินเป็นประจำก็จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดไขมันในเส้นเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ

-นอกจากนั้นในหอมแดงยังมีธาตุฟอสฟอรัสปริมาณสูง ช่วยให้มีความจำดี อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี แถมยังช่วยลดจุดด่างดำบนใบหน้าสาวๆ ได้อีกด้วย แค่ทุบหรือฝานหอมแดงให้เป็น

-แว่นบางๆ ทาบริเวณที่เป็นสิว ฝ้า หรือมีจุดด่างดำ และนอกจากหอมแดงจะมีประโยชน์จากการกินแล้ว สำหรับคนที่เป็นหวัดคัดจมูก หอมแดงก็สามารถช่วยคุณได้ เพียงนำหัวหอมแดงมาบุบให้แตกสักหน่อยแล้วห่อผ้าวางไว้ใกล้หมอน น้ำมันหอมระเหยจากหอมแดงก็จะทำให้หายใจได้คล่องขึ้น นอนหลับสบายตลอดคืน

ประโยชน์ของพริก

ประโยชน์ของพริกป่น



-ใครที่ชอบทานเผ็ด แล้วใส่พริกป่นเยอะ ๆ ทราบหรือไม่ว่า พริกป่นนอกจากจะให้รสเผ็ดแล้ว ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีก วันนี้เกร็ดความรู้มีเรื่องนี้มาบอกกัน...

1. ในพริกป่นมีทั้งรสและกลิ่นเผ็ดร้อนที่ช่วยให้เกิดอาการตื่นตัว ส่วนประกอบในพริกที่ทำให้รู้สึกอย่างนั้นก็คือ capsaicin
2. capsaicin มีความสามารถในการกำจัดเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเซลล์ดีภายในร่างกาย ซึ่งอีกไม่นานจะมีการแนะนำให้ใช้ capsaicin ในการรักษามะเร็ง นับเป็นการบำบัดแบบใหม่ที่มีทิศทางที่ดีในอนาคต
3. พริกป่นช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อหลังได้ดี
4. พริกป่นช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
5. พริกป่น เปรียบเสมือนดีท็อกซ์ของร่างกาย เพราะในพริกป่นมีสารที่ช่วยกระตุ้นกระบวนการทำความสะอาดร่างกายด้วยตัวเอง ทั้งยังช่วยยับยั้งเมือกที่จับอยู่ภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย

-รู้อย่างนี้แล้วหันมาทานเผ็ดเพื่อสุขภาพกันดีกว่า แต่ก็อย่าเผ็ดมากจนเกินไป เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายก็ได้.

ประโยชน์ฟ้าทะลายโจร

ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจร



-ทุกส่วนของฟ้าทะลายโจรมีรสขม จึงมีคุณสมบัติเป็นยาได้ดี โดยสรรพคุณหลักๆ ของฟ้าทะลายโจร มี 4 ประการ

1.แก้ไข้ทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรองว่า ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัดได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ผู้ที่เป็นหวัด หรือร้อนในบ่อยๆ หากรับประทานฟ้าทะลายโจร จะสามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น จึงไม่เป็นหวัดง่าย อาการร้อนในจะหายไป

2.ระงับอาการอักเสบ เช่น อาการไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง ฝี ฯลฯ

3.แก้อาการติดเชื้อ เช่น ท้องเสีย กระเพาะ หรือลำไส้อักเสบ

4.เป็นยาขม ช่วยให้เจริญอาหาร

ทั้งนี้ ฟ้าทะลายโจรนี้สามารถเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ อีกทั้งไม่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน หรือดื้อยา เหมือนยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ ฟ้าทะลายโจร ยังช่วยป้องกันตับ จากสารพิษหลายๆ ชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ด้วย

ประโยชน์ของแครอท

ประโยชน์ของแครอท



-แครอทเป็นพืชกินหัวที่มีปลูกมากในประเทศไทย และเป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว แครอท เกิดในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง ออกดอกราวเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ดอกแตกเป็นชั้นคล้ายร่ม ชั้นนอกสีชมพู ตรงกลางสีม่วงแดง แครอทสมัยโบราณมีเนื้อแข็ง เสี้ยนเยอะเหมือนไม้ สีของหัวแครอทมีตั้งแต่สีเหลืองไปจนถึงสีม่วง แต่แครอทสีส้มที่รับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นแครอทที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์เมื่อศตวรรษที่ 18 นี้เอง
-สารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเซลล์ของมะเร็ง ต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี โดยจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งในปอดได้ ซึ่งคนที่กินผักที่มีเบต้าแคโรทีนน้อยที่สุด จะเสี่ยงต่อมะเร็งในปอดมากเป็นเจ็ดเท่าของคนที่กินมากที่สุด นอกจากนั้นแล้วก็ยังช่วยให้ตับขับสารพิษออกจากร่างกายได้ดี
-และยังมีแคลเซียมเพคเตทที่ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล ลดการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว นอกจากนั้นในแครอทยังมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงและลดการเสื่อมของตา มีสารต่างๆ ที่เป็นทั้งเกลือแร่และวิตามินอีกมากมาย เช่นธาตุแคลเซียม มีฟอสฟอรัส เหล็ก มีวิตามินเอ บี1 บี2 และวิตามินซี อีกทั้งยังช่วยบำรุงเซลล์ผิวหนังและเส้นผมให้มีสุขภาพดีอีกด้วย

08 กรกฎาคม 2553

ประโยชน์ของมะเขือเทศ

ประโยชน์ของมะเขือเทศ



-เป็นพืชล้มลุกอายุเพียง 1 ปี ลำต้นตั้งตรง มีลักษณะเป็นพุ่ม มีขนอ่อน ๆ ขอบใบเป็นหยักลึกคล้ายฟันเลื่อย มีผลเป็นผลเดี่ยว มะเขือเทศจะมีสารจำพวก แคโรทีนอยด์ เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร วิตามินซี วิตามินเอ โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามิน บี1 บี2 วิตามินเค คุณประโยชน์

1. ผลมีรสเปรี้ยว ช่วยดับกระหาย ทำให้เจริญอาหาร บำรุงและกระต้นกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต ให้ทำงานได้ดีด้วยช่วยขับพิษและสิ่งคั่งค้างในร่างกายเป็นยาระบายอ่อน ๆ และเหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับคนเป็นโรคนิ่ว วัณโรค ไทฟอยด์ หูอักเสบ และเหยื่อตาอักเสบ โดยรับประทานผลสด ผู้ที่รับประทานมะเขือเทศเป็นประจำ จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
2. ช่วยเป็นยารักษาโรคผิวหนังที่โดนแดดเผาโดยใช้ใบตำให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็น
3. ช่วยแก้อาการปวดฟัน โดยนำราก ลำต้น และใบแก่ต้มกับน้ำรับประทาน
4. ช่วยรักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง โดยใช้น้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรืออาจจะมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม

-มะเขือเทศช่วยแต่งรสอาหารให้มีรสเปรี้ยว และนำมาประกอบอาหารต่าง ๆ มากมาย เช่น สลัด ยำต่าง ๆ รสเปรี้ยวหวาน ข้าวผัด ส้มตำ ซุป ต้มยำ ซอสมะเขือเทศ ทำเป็นเครื่องดื่ม คือ น้ำมะเขือเทศ หรืออาจจะรับประทานสด นอกจากนี้ยังใช้แต่งอาหารให้มีสีแดง เช่น ซอสมะเขือเทศ