22 กันยายน 2553

ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ

นางสาว นันทยา เกตุคง รหัส 5021408219

ที่อยู่ 101/6 ถ.ประชาธิปก เขต.ธนบุรี แขวง.หิรัญรูจี กรุงเทพมหานคร 10600

เกิดวันที่ 15 มกราคม 2532

ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปี 4 คณะบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ



นาย จักรกฤษ มาลัยเพิ่ม รหัส 5021408221

ที่อยู่ 121/202 ตำบล.ท่าทราย อำเภอ.เมือง จังหวัด.สมุทรสาคร 74000

เกิดวันที่ 24 กันยายน 2525

ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปี 4 คณะบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ


นาย จักรพันธุ์ โมบัณฑิตย์ รหัส 5021408344

ที่อยู่ 489 ตำบล. ตลาด อำเภอ. กระทุ่มแบน จังหวัด.สมุทรสาคร 74110

เกิดวันที่ 6 เมษายน 2532

ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปี 4 คณะบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

10 กันยายน 2553

ประโยชน์ของกระเพรา




คนไทยรู้จักกะเพรามานานแล้ว เป็นผักอย่างหนึ่งต้นเล็ก ๆ ใบมีกลิ่นหอม ใช้แกงกินบ้าง ทำยาบ้าง นั่นคือกะเพราในวัฒนธรรมไทย ซึ่งปัจจุบัน ฐานะของกะเพราก็ไม่แตกต่างไปจากเดิม คือเป็นพืชซึ่งใช้เป็นอาหารและยาได้เช่นเดียวกับผักพื้นบ้านอีกหลายชนิด แต่เนื่องจากกะเพรามีกลิ่นหอมฉุนและรสเผ็ดร้อน ชาวไทยจึงไม่นิยมกินกะเพราโดยตรงเหมือนผักชนิดอื่น ๆ แต่นิยมนำไปเป็นเครื่องปรุงรสชาติและกลิ่นในการประกอบอาหารต่างๆ ตัวอย่างเช่นคนไทยส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงกะเพรา ก็มักจะนึกถึงเมนูหรือรายการอาหารยอดนิยมจากกะเพรานั่นคือ “ผัดกะเพรา (หมู ไก่ เนื้อ )” ร่วมอยู่ในรายการยอดนิยมอย่างหนึ่งเป็นแน่ คงจะจำกลิ่นผัดกะเพราที่ทั้งฉุนตลบอบอวลไปทั่วทั้งร้านและบริเวณใกล้เคียง จนทำให้เกิดเสียงไอจามดังได้เป็นแน่

กะเพรามีกลิ่นและรสชาติที่รุนแรงเฉพาะตัว จึงมักนิยมใช้ดับกลิ่นคาวในตำราอาหารไทยเช่น ผัดกบ ผัดปลาไหล ผัดหมู ฯลฯ พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นพวกแกงต่างๆ เช่น แกงเลียงใบกะเพรา สำหรับมารดากินหลังคลอดใหม่ๆ เพื่อขับลมบำรุงธาตุให้ปกติเป็นยาขับน้ำนม นอกจากนี้ยังมีแกงป่า แกงเขียวหวาน แกงคั่ว แกงส้มมะเขือขื่น แม้แต่ต้มยำต่างๆ ใส่ใบกะเพราผัดเผ็ดต่างๆทอดใบกะเพราให้กรอบแล้วนำมาโรยหน้าอาหาร ใส่อาหารได้สารพัดนอกจากที่กล่าวมา

กะเพราจัดเป็นพืชสมุนไพรได้อย่างเต็มตัวชนิดหนึ่ง เพราะมีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตำราไทยและต่างประเทศ ก็ระบุความเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ของกะเพราเอาไว้หลายด้านเช่น ตำราสมุนไพรไทย บรรยายสรรพคุณด้านยาของสมุนไพรเอาไว้ว่า รสฉุน ร้อน ขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น ปวดท้องบำรุงธาตุ แก้จุดเสียดในท้อง ช่วยย่อยอาหาร

ในตำราสมุนไพรไทย ได้จัดแบ่งสมุนไพรออกเป็นจำพวกต่างๆ รวมทั้งพิกัดอีกมากมาย ในจุลพิกัดซึ่งมีสมุนไพรกลุ่มละ 2 ชนิดนั้น ระบุถึงกลุ่มที่เรียกว่า ”กะเพราทั้ง 2 ” หมายถึง ส่วนราก ต้นใบ ดอก และ ผลของกะเพรา ซึ่งใช้ด้วยกันทั้งหมดในตำรานั้น ในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณซึ่งมีอยู่ 6 ตำรับนั้น มีอยู่ตำรับหนึ่งชื่อว่า”ยาประสะกะเพรา” หมายถึง มีกะเพราเป็นสรรพคุณหลักของกะเพรานั่นเอง

นอกจากนี้กะเพรายังเป็นส่วนประกอบของยาอีกมากมาย เช่น ยารักษาตานขโมยสำหรับเด็ก ยาแก้ทรางเด็ก และยากินให้มีน้ำนมสำหรับมารดาเป็นต้น ในต่างประเทศมีการใช้กะเพราเป็นยารักษาโรคอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าประเทศไทย เสียอีก โดยเฉพาะในอินเดียถือว่ากะเพราใช้รักษาโรคได้ทุกโรคเลยทีเดียวกะเพราเป็นพืช ที่ปลูกง่ายมากชนิดหนึ่งเพื่อแต่โรยเมล็ดลงบนพื้นดินแล้วรดน้ำพอชุ่มชื้น กะเพราก็จะงอกงามได้ดี

ประโยชน์ของเห็ด

ประโยชน์ของเห็ด




เห็ด เป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ และไม่มีคอเลสเตอรอล มีแร่ธาตุที่เป็น ประโยชน์อย่างโปแตสเซียมซึ่งช่วยลดความดันโลหิต และซีลีเนียมซึ่งเป็นตัวสาร ต้านมะเร็ง รวมทั้งยังมีวิตามินต่างๆ และกรดอะมิโนต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ ในปริมาณพอสมควร

การกิน "เห็ดสามอย่าง" ก็จะยิ่งได้ประโยชน์ ยิ่งกว่ากินเห็ดเพียงอย่างเดียว เหมือนกับส่วนผสมของดินปืน ที่เมื่อแยกส่วน ออกมาแต่ละตัวแทบจุดไม่ติดไฟ แต่พอนำมารวมกันก็กลายเป็นระเบิด

ใน หนังสือ "นาฬิกาชีวิต" ของ อ.สุทธิวัสส์ คำภา บอกว่า เห็ดสามอย่างเมื่อรวม กันนั้นจะมีค่ากรดอะมิโนที่สามารถลดอัตราการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ทั้ง ยังช่วยล้างพิษที่สะสมในตับ ทั้งจากอาหารและสารเคมี เช่น พิษจากสุรา สารตก ค้างในเนื้อสัตว์ สารเคมีจากเครื่องสำอาง และพิษจากสารอนุมูลอิสระ นอกจาก นั้นยังล้างไขมันในตับ ทำให้ตับเเข็งแรง สร้างเม็ดเลือดแดงได้ดี

การ กินเห็ดสามอย่างที่ว่านี้ ก็คือเห็ดอะไรก็ตามที่กินได้ ไม่ว่าจะเป็นเห็ด ฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดเข็มทอง ฯลฯ และจะนำมาทำแกงเลียง แกงส้ม ต้ม ยำ ย่าง หรือทำอาหารประเภทใดก็ได้ โดยที่ไม่ต้องใช้น้ำมัน นอกจากนั้นยังต้ม เป็นน้ำซุปเห็ดดื่มก็ได้ด้วยโดยการนำเห็ดอะไรก็ได้ 3 อย่าง มาล้าง หั่นและ นำไปต้มรวมกันในน้ำสะอาด ใส่มะตูมแว่นที่ปิ้งจนหอมมาต้มรวมกัน ดื่มแทนน้ำ ซุปได้ ส่วนเนื้อเห็ดนำไปทำอาหารอื่นๆ ได้อีกด้วย